กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่จะมีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย ซึ่งจากการสังเกตพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารหรือการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทยาและเครื่องสำอางของเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่สีสันต้องตาหรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณาตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์อันตรายหรือความปลอดภัย ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ ที่อาจขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค แต่อาจแอบอ้างสรรพคุณโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มเยาวชนนั้นเป็นกลุ่มที่เราสามารถให้การปลูกฝังความรู้ ในเรื่องต่างๆและนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอบรม อย.น้อย ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียนให้มีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้อ/เลือกใช้อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ตลอดจนตรวจสอบสารปนเปื้อนต่างๆโดยใช้ชุดทดสอบหรือการพิจารณาสังเกต เพื่อให้สามารถเลือกบริโภคได้อย่างปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน อย.น้อย อสม. ได้มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน และครอบครัว

1.ร้อยละของนักเรียน อย.น้อย แ อสม. ได้มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน และครอบครัว

85.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

2.ร้อยละของนักเรียนทำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

85.00
3 3.เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

3.ร้อยละของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

85.00
4 4.เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพของ อสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

อสม.มีความรู้ด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลัง มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85

85.00
5 5. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

เกิดภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 63
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ครู/นักเรียน อสม .ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑสุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ครู/นักเรียน อสม .ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑสุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ครู/นักเรียน อสม .ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑสุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย 1. สำรวจข้อมูลนักเรียน ครูอสม. เข้าร่วมกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ครู นักเรียน อสม. อบรมให้ความรู้โดยเภสัชกร โรงพยาบาลควนขนุน 3. สาธิตการรตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัดจำนวน 65คน x 2มื้อ x 25 บาทเป็นเงิน 3,250 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัดจำนวน 65คน x 1 มื้อ x 60 บาทเป็นเงิน3,900 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าวัสดุอบรมจำนวน 65ชุด x50 บาทเป็นเงิน 3,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต   ครู/นักเรียน อสม.  เข้ารับการอบรมความรู้ฯครบตามเป้าหมาย   50 คน ผลลัพธ์ นักเรียน อสม. มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลัง มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 2 ออกตรวจร้านชำชุมชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจร้านชำชุมชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจร้านชำชุมชนในพื้นที่ 1.นักเรียน อย.น้อย ร่วมกับ อสม.ที่ผ่านการอบรม ลงพื้นที่ตรวจร้านชำในพื้นที่ตำบลปันแต จำนวน 14 ร้าน 2. นักเรียน อย.น้อย ตรวจสารปนเปื้อนอาหาร ในอาหารสด ร้านค้าในพื้นที่ตำบลปันแต

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต    1.  ดำเนินการตรวจสอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและประเมินร้านชำคุณภาพ >  ร้อยละ 95  และแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบ                   2. สำรวจฉลากอาหาร  ฉลากโภชนาการ  และฉลาก GDA ในร้านชำ ไม่ต่ำกว่า 50 รายการต่ออำเภอ

ผลลัพธ์                          1. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ > ร้อยละ 95                                      2. ร้านชำมีการขายยาที่ถูกต้อง ( เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ) ร้อยละ 95                                      3. ร้อยละของฉลากอาหาร  ฉลากโภชนาการ  และฉลาก GDA  มีความถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมอย.น้อยไปพัฒนา พรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน
2 .ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะทางความคิดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ และสินค้า
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน และคนในครอบครัว


>