กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการงานสุขภาพจิตและจิตเวช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันจำนวนผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยจิตเวชมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปีงบประมาณ 2561 มีจำนวนผู้พิการทางจิตเข้ารับบริการที่หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3,351,295 คน สภาพเช่นนี้เนื่องจากปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ มีผลต่อการปรับตัวของประชาชน และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้พิการทางจิต ซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ แม้ในกระบวนการบำบัดรักษาผู้พิการทางจิตในโรงพยาบาล มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยา และการบำบัดด้านจิตสังคมแต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้พิการทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่อง และได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไป ภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรค ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป ซึ่งอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น การขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อม ยังขาดความรู้ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ที่เจ็บป่วยหรือพิการทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนมากและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น บุคคลในชุมชน รู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วยหรือคาดหวังกับผู้ป่วยมากเกินความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วยหรือพิการทางจิตสภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้พิการทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และผู้พิการทางจิตยิ่งขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้พิการทางจิตเหล่านี้กลายเป็นผู้พิการทางจิตที่เป็นภาระหรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ประจำปีงบประมาณ 2564 พบว่ามีผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยจิตเวชในตำบลปันแต จำนวน 28 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้พิการทางจิตให้ทุเลาจากการเจ็บป่วย จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการงานสุขภาพจิตและจิตเวชปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยจิตเวช ป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถดำเนินชีวิตในชุมชนได้ตามศักยภาพ และเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมได้มากที่สุด อีกทั้งยังทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม

1.จำนวนผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลัง

87.00
2 2.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

จำนวนภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเองได้อย่างครอบคลุม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 56
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ทั้งระบบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ทั้งระบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช 2. จัดอบรมพัฒนาทักษะการคัดกรอง ค้นหาและการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคจิตแก่ บุคลากรใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ชี้แจงแนวทางการการดำเนินงาน ร่วมกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน 3. จัดอบรมอาสาสมัครเชี่ยวชาญด้านจิตเวช ให้สามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ คัดกรอง และเฝ้าระวัง ในผู้ป่วยรายเก่า แนวทางการติดตามเยี่ยมและติดตามให้ไปรับการรักษาต่อเนื่อง ตามนัด และแนวทางให้การ ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนตามความจำเป็น 4. รพ.สต.และแกนนำ อสม.สำรวจและประเมินผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในพื้นที่ตนเอง รณรงค์ค้นหา ผู้ป่วยรายใหม่เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษา และการสำรวจผู้ป่วยรายเก่า โดยแบ่งระดับผู้ป่วยเป็นระดับ 1 2 3 ตามแบบประเมิน 9 ด้าน เพื่อง่ายต่อการดูแลผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตระดับ 1 ให้การเยี่ยม และดูแลโดย อสม. ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตระดับ 2 เยี่ยมและดูแลโดยเจ้าหน้าที่จากรพ.สต. ส่วนผู้ป่วยที่มี อาการทางจิตระดับ 3 ถือว่ามีปัญหา จะได้รับการเยี่ยมและดูแลโดยพยาบาลจิตเวชและทีมสหวิชาชีพจาก โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลแม่ข่าย 5. จนท.ในเครือข่ายร่วมกันจัดทำแผนงาน/โครงการการบูรณาการงานสุขภาพจิตและจิตเวช

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัดจำนวน 60 คน x 1 มื้อ x 25บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ300 บาทเป็นเงิน 900 บาท ผลผลิตผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ดูแล และ อสม.อบรมความรู้ฯครบตามเป้าหมาย56คน ผลลัพธ์ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลังมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต    ผู้ป่วยจิตเวช/ผู้ดูแล และ อสม.อบรมความรู้ฯครบตามเป้าหมาย  56  คน ผลลัพธ์    ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช  ที่บ้านได้เหมาะสม ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลัง  มีความรู้เพิ่มขึ้น   ร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับ อสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต    ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการเยี่ยมบ้าน  ร้อยละ 100 ผลลัพธ์      1. ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่อง      2. ลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกำเริบ      3. สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติ      4. ประสานการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม
2.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง
3.ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการดูแล ไม่ขาดยา ลดอันตรายจากอาการก้าวร้าว ชุมชนปลอดภัย
4.ผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ได้รับการค้นหา ช่วยเหลือ รักษาอย่างถูกต้อง ไม่เป็นภาระ ของชุมชน


>