กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมัสยิดสร้างเสริมสุขภาวะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

คณะกรรมการมัสยิดดารุลฟุรกอน

นายอับดุลรอแม จาลงค์
นายมูฮำมัดเฟาซีจาลงค์
นายมะรีเป็งจาหลง
นายอับดุลรอเซ๊ะ โต๊ะเจ๊ะ
นายมะดาโอ๊ะอาบูดี

หมู่ที่ 6บ้านต้นทุเรียน ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานขยะ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หนึ่งในศูนย์รวมจิตใจของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามคือ "มัสยิด" หรือ "สุเหร่า" โดยชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาด (การนมาซ) และการวิงวอนขอพร การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หรือหาความสันโดษ ซึ่งพิธีปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับความหมายของคำว่ามัสยิดที่มีรากคำมาจากภาษาอาหรับ ที่แปลใจความได้ว่า "สถานที่กราบ" สำหรับประเทศไทยตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พบว่า มัสยิดอยู่ราว 3,722 แห่งตั้งอยู่ทั่วประเทศใน68จังหวัด โดยอยู่ใน14 จังหวัดภาคใต้ มากที่สุดคือ 3,158 แห่ง
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าบทบาทของมัสยิดในปัจจุบัน มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการที่สามารถทำให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนได้ เช่น ปัจจัยทางด้านกฎหมายที่กำหนดให้มัสยิดเป็นนิติบุคคล ปัจจัยทางด้านบุคลากรในชุมชนและคณะกรรมการมัสยิดที่มีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น ปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกทั้ง มัสยิดเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านและศาสนา เป็นสถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิม ฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่พิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก เป็นพื้นที่รวมจิตใจของคนในชุมชน ความเป็นชุมชนเกิดขึ้นเมื่อคนในชุมชนมารวมตัวกันมีปฏิสัมพันธ์กัน มีวิถีดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกัน มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัวไปสู่ระดับเครือญาติ จนกระทั่งระดับหมู่บ้าน ระดับตำบลหรือระดับที่ใหญ่ขึ้น (พงค์เทพ สุธีรวุฒิและคณะ, 2559)
พฤติกรรมสุขภาพชุมชน หมายถึง พฤติกรรมใดๆ ของคนในชุมชน หรือพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลที่อยู่ในชุมชน พฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นส่วนรวมหรือวิถีปฏิบัติต่อสาธารณะ เมื่อปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลดีหรือเสียต่อสุขภาพ รวมทั้งนำไปสู่โรคภัยและอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้มีผลมาจากความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ การรับรู้และการปฏิบัติทางสุขภาพที่เหมาะสม เช่น การทิ้งขยะ การเคารพกฎจราจร การขับขี่ยานยนต์ การข้ามทางม้าลาย หรือทางข้าม เป็นต้น ทั้งนี้ พฤติกรรมสุขภาพมีหลายรูปแบบ
การพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือผู้แทนของกลุ่ม องค์กรต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนา ร่วมตัดสินใจในอนาคตของชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เทคนิคกระบวนการมีส่วนร่วมจะช่วยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ ร่วมสร้างความเข้าใจการดำเนินงาน มีการยอมรับ มีความรัดชอบในฐานะสมาชิกของชุมชน เกิดความเป็นเจ้าของและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานที่ตนมีส่วนร่วม กระบวนการพัฒนาชุมชนจึงเกิดความต่อเนื่องและก่อให้เกิดความสำเร็จสูง กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นอาจจะกระทำได้ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและลักษณะที่ไม่เป็นทางการ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2557) ซึ่งมัสยิด สถาบันศึกษาปอเนาะ และวัด เป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมนไทยพุทธและไทยมุสลิมและตั้งเป้าหมายดำเนินการให้เป็นต้นแบบของศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ การดำเนินการจะพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่มากที่สุด จากผลการดำเนินงานพัฒนาศาสนสถาน ที่ผ่านมาพบว่า วัดผ่านเกรฑ์การประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 95.9 มัสยิดผ่านเกณฑ์ประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ85.2 สถาบันการศึกษาปอเนาะยังผ่านเกณฑ์การประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ74.6ทั้งนี้ตัวชี้วัดภาพรวมต้องผ่านร้อยละ80 ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดของสถาบันศึกษาปอเนาะยังไม่ผ่านเกณฑ์และพบว่า ศาสนสถานส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาด้านสภาพโครงสร้างด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพ (นงลักษณ์ , 2557) จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศาสนสถาน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการชุมชนที่นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้ง4มิติ ประกอบด้วย มิติทางกาย มิติทางสติปัญญา มิติด้านสังคม และมิติด้านจิตวิญญาณ ซึ่งมิติเหล่านี้เชื่อมโยงกันอย่างมีพลวัตร จากเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการมัสยิดบันนังยะลาปัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมศาสนสถานต้นแบบด้านการจัดการสุขภาวะจึงได้จัดโครงการมัสยิดสร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อให้ผู้นำศาสนา คณะกรรมการตลอดจนผู้เข้าร่วมอมรมมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง 4 มิติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพตนเองในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี และเพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้นำศาสนา คณะกรรมการตลอดจนผู้เข้าร่วมอมรมมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง 4 มิติ

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพตนเองในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี

 

0.00
3 เพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมองค์ความรู้อัลกุรอ่าน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมองค์ความรู้อัลกุรอ่าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรศาสนาจำนวน3 วันๆละ3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน5,400 บาท
  • ค่าวิทยากรส่งเสริมสุขภาพในศาสนสถาน จำนวน 3 วันๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน5,400 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1*3 เมตร(ตร.ม.ละ 250 บาท)เป็นเงิน 750บาท
  • ค่าอาหารจำนวน 3 วันๆละ80 บาท จำนวน50 คน เป็นเงิน12,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท จำนวน3มื้อเป็นเงิน5,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการองค์ความรู้การส่งเสริมสุขภาพในศาสนสถาน (มัสยิด)
  • เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการองค์ความรู้อัลกุรอ่าน (เพื่อขัดเกลาจิดใจของเยาวชนในพื้นที่)
  • เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการมัสยิด เพื่อการสร้างความมีส่วนร่วมในเยาวชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมถอดบทเรียนสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนสร้างเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน  1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดชุดความรู้การส่งเสริมสุขภาพในศาสนสถาน
  • เกิดข้อตกลงในการจัดการชุมชน
  • เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดยเยาวชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการองค์ความรู้การส่งเสริมสุขภาพในศาสนสถาน (มัสยิด)
2. เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการองค์ความรู้อัลกุรอ่าน (เพื่อขัดเกลาจิดใจของเยาวชนในพื้นที่)
3. เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการมัสยิด เพื่อการสร้างความมีส่วนร่วมในเยาวชน


>