กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพในชุมชนบ้านโตน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

นางสุวรีย์ ปินคำ นางสุรัสวดีสะสมและคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร ซึ่งจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aging Society)หาก สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 28 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุในเขต. รพ.สต. บ้านโตน จากข้อมูล ผู้สูงอายุ ในพื้นที่มีจำนวน ทั้งหมด 746 คน คิดเป็นร้อยละ 31ของประชากรที่อาศัยอยู่จริงเป็นสังคมผู้สูงอายุ ระดับสุดยอดและยังพบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เพิ่มมากขี้นสิ่งเหล่านี้คือความจำเป็นที่ต้องสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวขึ้นมารองรับเนื่องจากวัยสูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีการเสื่อมลงของสภาพร่างกาย โดยเฉพาะ ปัญหาสมองเสื่อม ปัญหาข้อเข่าเสื่อม ทำให้มีการทรงตัว และการเคลื่อนไหวผิดปกติ ผลที่ตามมาคือ เสี่ยงต่อการเกิดพลัดตกหกล้ม ทำให้การเคลื่อนไหวช้าลงและมีปัญหาสูญเสียความมั่นใจในการทำกิจกรรม
จากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพประจำปี ของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมจะมีปัญหาด้านการดำเนินกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนไหวช้า ปัญหาข้อเข่าเสื่อมไปตามวัยปัญหาด้านสุขภาพในช่องปากส่งผลต่อการรับประทานอาหารและภาวะหลงลืม ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้นโยบาย ของจังหวัดแพร่ ปี 2565 ในการขับเคลื่อนกิจกรรมในผู้สูงอายุไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวลำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (GOAL) “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ในการดำรงชีพ ลดภาระต่อครอบครัว ชุมชน ลงได้ ทางรพ.สต. บ้านโตนได้ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริม สุขภาวะผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ ในชุมชนบ้านโตน เพื่อ ขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในปี 2565

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาว
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 746
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/06/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเสริมความรอบรู้แกนนำอสม.ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้นโยบายของจังหวัด แพร่ ไม่ล้ม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวลำ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเสริมความรอบรู้แกนนำอสม.ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้นโยบายของจังหวัด แพร่ ไม่ล้ม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวลำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเสริมความรอบรู้แกนนำอสม.ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้นโยบายของจังหวัด แพร่ไม่ล้มไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวลำ เพื่อออกติดตามให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย และครอบครัว ใน การดูแลผู้สูงอายุเชิงรุกในชุมชน จำนวน แกนนำ 5 หมู่บ้าน รวม50 คน ดำเนินการ1วัน - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าประชุม 1มื้อจำนวน50 คนx 70บาท เป็นเงิน3,500บาท - ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 1 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1,250บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร2ชม. / วันชม.ละ 600บาทเป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5950.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมส่งเสริมความรอบรู้ ให้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มที่ มีปัญหาเรื่องข้อเข่า มีภาวะหลงลืมอาศัยอยู่เพียงลำพัง และ มีปัญหาด้านช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมส่งเสริมความรอบรู้ ให้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มที่ มีปัญหาเรื่องข้อเข่า มีภาวะหลงลืมอาศัยอยู่เพียงลำพัง และ มีปัญหาด้านช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมส่งเสริมความรอบรู้ ให้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มที่ มีปัญหาเรื่องข้อเข่า มีภาวะหลงลืมอาศัยอยู่เพียงลำพัง และ มีปัญหาด้านช่องปากเพื่อป้องกันภาวะไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวลำ ตามนโยบายจำนวน กลุ่มเป้าหมาย80 คน- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 มื้อจำนวน 80 คนx 70 บาท เป็นเงิน 5,600บาท -ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่มจำนวน80คนx 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร3ชม. ๆละ 600บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าป้ายผ้าประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืน ๆ ละ 300บาท เป็นเงิน300 บาท - ค่าวัสดุการดำเนินกิจกรรมเป็นเงิน 500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2. ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน มีความรอบรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาวได้
3. ผู้สูงอายุ ผ่านเกณฑ์การประเมินมีการปฏิบัติตัว ลดความเสี่ยงต่อการไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซืมเศร้า
กินข้าวลำได้


>