กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การสร้างเสริม อนามัยแม่และพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่รพ.สต.บ้านโตนปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

นางสุวรีย์ ปินคำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน
นางสาวกานต์พิมล ฝากมิตรนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมให้มีการฝากครรภ์คุณภาพในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การคลอดที่ปลอดภัยและเจริญเติบโตสู่เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาสมวัยคือเป้าหมายหลักของงานอนามัยแม่และเด็ก โดยที่ หญิงตั้งครรภ์ต้องมารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายและตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตามมาตรฐานการฝากครรภ์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมมีคุณภาพซึ่งหญิงมีครรภ์ทุกคนจะต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง จากข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ในปีงบประมาณ 2564 เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน มีหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 12 ราย มาฝากครรภ์ที่ รพ.สต.เพียง 8 ราย อีกจำนวน 4 ราย จะไปฝากครรภ์ที่คลินิกซึ่งต้องอาศัยแกนนำ อสม. แม่และเด็กออกติดตามให้ความรู้ในชุมชน และอีกปัญหาคือบางราย ตั้งครรภ์จากที่อื่น ใกล้คลอดจะมาอาศัยในพื้นที่ หรือทำงานในอำเภอเมืองจึงไปฝากครรภ์ที่คลินิกในอำเภอ เมือง ทำให้การส่งเสริมความรู้ในการปฏิบัติตัวของหญิงมีครรภ์ดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาแกนนำ อสม. ในการสื่อสารให้ความรู้กับหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน รวมทั้งให้ความรู้ผ่านญาติมาเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจะทำให้หญิงมีครรภ์ เข้าใจและนำไปดูแลตนเองได้
สำหรับกลุ่มเด็กปฐมวัยในพื้นที่ หรือ เด็ก 0-5 ปี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 116 คนซึ่งต้องมีการตรวจคัดกรอง ด้านพัฒนาการเด็ก พบว่า เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า มีจำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.89 มีภาวะโภชนาการไม่สมส่วน มีภาวะเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.63 จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังพบว่า และเด็กที่มีปัญหา เตี้ย และค่อนข้างเตี้ย ยังไม่ได้ รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ไม่ทราบผลกระทบ ที่เกิดจาก ปัญหาเด็กเตี้ย นอกจากนี้ การใช้คู่มือ DSPM ในผู้ปกครองเด็กที่มามาตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 70 ของ ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีไม่มีการใช้คู่มือ DSPM ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ การกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ เกิดพัฒนาการไม่เป็นไปตามช่วงวัย ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตนได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริม อนามัย แม่และพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่รพ.สต. บ้านโตน เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์ตั้งครรภ์คุณภาพและส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้คู่มือ DSPM ประเมินพัฒนาการเด็กและกระตุ้นพัฒนาการสู่ การมีพัฒนาการที่สมวัยได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ สื่อสารด้านสุขภาพสู่หญิงมีครรภ์/หญิงหลังคลอด และครอบครัว
2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลหญิงมีครรภ์และเด็ก 0-5 ปี
3. เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้คู่มือ DSPM ในผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กได้
4. เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยและโภชนาการสมส่วน

ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์
2. ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้ง
3. จำนวนหญิงหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
4. ร้อยละ 85 ของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
5. ร้อยละของพ่อแม่ผู้ปกครองใช้คู่มือ DSPM ในการเลี้ยงดูเด็ก
6. เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กทุกราย

การแก้ไขปัญหาภาวะเตี้ยในเด็กปฐมวัย
1. ร้อยละ 60 ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดกิจกรรมกระโดดโลดเต้น30 นาทีต่อวัน
2. ร้อยละ 70 ของเด็กเตี้ยได้รับการแก้ไขปัญหา
3. ร้อยละ 20 ของจำนวนเด็กเตี้ยลดลงจากข้อมูลเด็กเตี้ยในปีก่อน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 90
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสวนาการขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

ชื่อกิจกรรม
เสวนาการขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสวนาการขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต และกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่ ในหญิงมีครรภ์/หญิงให้นมบุตร แกนนำผู้ปกครอง ครอบครัว หรือญาติและแกนนำ อสม. จำนวน 50 คน1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน/มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,250 บาท 3 ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 4 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6850.00

กิจกรรมที่ 2 สวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการใช้คู่มือ DSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual) และกิจกรรมส่งเสริมการกระโดดโลดเต้นในเด็กปฐมวัยลดปัญหาเด็กเตี้ย

ชื่อกิจกรรม
สวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการใช้คู่มือ DSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual) และกิจกรรมส่งเสริมการกระโดดโลดเต้นในเด็กปฐมวัยลดปัญหาเด็กเตี้ย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการใช้คู่มือ DSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual) และกิจกรรมส่งเสริมการกระโดดโลดเต้นในเด็กปฐมวัยลดปัญหาเด็กเตี้ย ในผู้ปกครองเด็ก 100 คน และแกนนำ อสม.10 คน รวม 110 คน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้คู่มือใน เดือน เมษายน
โดยดำเนินการ ครั้งที่ 1 จำนวน 60 คน และ1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม 110 คน/มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 2,750 บาท 3 ค่าวิทยากร จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

ครั้งที่ 2 จำนวน 50 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงมีครรภ์/หญิงหลังคลอด มีความรอบรู้ในการปฏิบัติตัวสู่ครรภ์คุณภาพ และลูกเกิดรอดแม่
ปลอดภัย
2.มีแกนนำอสม. เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กในชุมชน
3. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการกระตุ้นและมีพัฒนาการสมวัย
4.ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
5. แกนนำ อสม. สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้คู่มือ DSPM แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
6.เด็กเตี้ย มีภาวะโภชนาการสมวัย


>