กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการเผ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนบ้านโตน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

นางสุวรีย์ ปินคำ นางสุรัสวดีสะสมและคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาวะโรคโดยรวมในประเทศไทย ภาวะโรคเกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อหลักสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค)ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้มาตรฐาน หลักเกณฑ์และรูปแบบ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและ ลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ
( Health Literacy ) ให้ประชาชนได้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์โดย มีแกนนำเครือข่ายด้านสุขภาพ รวมทั้ง ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย มีมาตรการในชุมชนโดยมีเป้าหมายคือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจัดการสุขภาพตนเองได้จะช่วย ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลงได้
นอกจากนั้นยังพบประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะภาวะเครียด ประชาชนมีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคซึมเศร้าและ สตรี วัยเจริญพันธ์ มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ตลอดจนปัญหาสุขภาพ ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพเช่น โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาในระดับต้น ของ รพสต. บ้านโตน โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ (การบริโภคเกลือ น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว มากเกินไป) การไม่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล ในปีที่ผ่านมาพบว่า ประชากรอายุ 15ปีขึ้นไป2,049คน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 396ราย ( ร้อยละ 19.32 ของประชากร ) โดยรักษาที่ รพ.สต. 242 ราย และคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50.2ผู้ป่วยเบาหวาน 222ราย ( ร้อยละ 10.83 )รักษาที่ รพ.สต. บ้านโตน89รายคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 42และกลุ่มป่วยเหล่านี้ มี ผลการตรวจการทำงานของไตมีภาวะการเสื่อมของไตผิดปกติ จำนวน12รายซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายหากมีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ให้ประชาชนทั้งกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วย ญาติ มาเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ และมีเป้าหมายมีทักษะการดูแลตนเอง ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองทุกเดือนและประเมินทางเลือก ในการปฏิบัติตนเปลี่ยนแปลงตนเอง และ ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนในการออกติดตามการดำเนินกิจกรรม ทุกเดือนจะนำไปสู่การลดความรุนแรงของโรคในกลุ่มป่วย ลดโรค ลดภัยจากโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงกลุ่มปกติ เหล่านี้ลงได้
จากเหตุผลความจำเป็นและสภาพปัญหาดังกล่าว รพ.สต.บ้านโตน จึงได้จัดทำโครงการโครงการ
ส่งเสริมการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนบ้านโตน ปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ในประชาชนให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2. เพื่อลดอัตราป่วย ตาย ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย และความพิการที่ป้องกันได้
3. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมชุมชนมีรูปแบบหรือ มาตรการขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างสุขภาพ

ตัวชี้วัด
1. ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน ≥ ร้อยละ 90
2. กลุ่มประชาชนที่สงสัยป่วย ได้รับการตรวจติดตาม DM ≥ร้อยละ60 HT≥ ร้อยละ70
3. กลุ่มสงสัยป่วยมีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ (HL) ≥ ร้อยละ10
4. ผู้ป่วยNCD ได้รับการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ( HL) ≥ ร้อยละ50
5. ผู้ป่วย NCD ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน ≥ร้อยละ80
6. ผู้ป่วย DM ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ≥ ร้อยละ40
7. ผู้ป่วย HT ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ≥ ร้อยละ50
8. ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและส่งเสริมความรอบรู้ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,049
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม การสนทนากลุ่ม ( focus group ) เสริมความรู้ แกนนำ อสม.Buddy

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การสนทนากลุ่ม ( focus group ) เสริมความรู้ แกนนำ อสม.Buddy
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม การสนทนากลุ่ม ( focus group ) เสริมความรู้  แกนนำ อสม.Buddy 30 คน  ในการออกติดตามส่งเสริมทักษะการดูแลตนเอง  และกลุ่มเสี่ยงสูง เบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง
จำนวน 60 คน รวม  90  คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสนทนากลุ่ม ( focus group ) ในกลุ่มป่วยโรค ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนทนากลุ่ม ( focus group ) ในกลุ่มป่วยโรค ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2 กิจกรรมสนทนากลุ่ม ( focus group )   ในกลุ่มป่วยโรค ความดันโลหิตสูง ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  1 ครั้ง  เป้าหมาย  50  คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6550.00

กิจกรรมที่ 3 การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ในการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ในการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมความรู้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญด้านการตรวจเต้านม  ในการสื่อสารความเสี่ยงกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งฝึกทักษะ การสอนการ ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องที่บ้านจำนวน หมู่ละ 10 คน รวม 40 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2. ลดอัตราป่วย ตายด้วยโรคไม่ติดต่อรายใหม่ และลด ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย และความพิการที่ป้องกันได้
3. ชุมชนมีรูปแบบหรือ มาตรการขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ทุกกลุ่มวัย
4. มีแกนนำ อสม. ที่เชี่ยวชาญตรวจเต้านม และให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้


>