กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและทันตกรรมฟันดีในเด็กวัยเรียน ตำบลสบสาย ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและทันตกรรมฟันดีในเด็กวัยเรียน ตำบลสบสาย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

นางปพิชญาสมหมาย และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดีและผอม หากขาดอาหารเป็นเวลานานเรื้อรังจะทำให้เด็กเตี้ย ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง โดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า อีกทั้งเด็กที่มีภาวะเตี้ยมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้กินอาหารปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เด็กที่มีการเจริญเติบโตที่ดี มีส่วนสูงในระดับดีและรูปร่างสมส่วน รวมทั้งป้องกันปัญหาทุพโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ปัญหาในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนพบว่ายัง เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2563 พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วนเพียง ร้อยละ 67.4 ภาวะผอม เริ่มอ้วน อ้วนและเตี้ย พบร้อยละ 6,12.5,5.4 และ 16.08 ตามลำดับ ดังนั้นการส่งเสริมได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง โดยเด็กวัยเรียนควรดื่มนมจืดวันละ 2 แก้วหรือ 400 มิลลิลิตร ทุกวัน เนื่องจากนมเป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียม ช่วยสร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกแข็งแรงมีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูง ร่วมกับการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกของข้อต่อ เพื่อให้การเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะกลุ่ม Long Bone เพิ่มขึ้น รวมถึงการนอนหลับที่มีคุณภาพอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง จะมีผลต่อความสูงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาเด็กบริโภคผัก ผลไม้น้อยกว่าปริมาณตามคำแนะนำ ส่งผลให้เด็กอ้วน กลุ่มเสี่ยงเสียโอกาสด้านสุขภาพ จึงจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียน และปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ฟันแท้ขึ้นใหม่ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากที่อุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาพบว่าเด็กที่มีฟันผุร้อยละ 25 จากการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและทันตกรรมฟันดีในเด็กวัยเรียน ตำบลสบสาย ปี 2564ผลการดำเนินงานปี 2563 พบว่า เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.16 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.08 และเด็กที่มีฟันผุลดลง เหงือกอักเสบ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 5.39 และการดูแลช่องปากโดยการแปรงฟันไม่สะอาด

ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภพตำบลสบสาย จึงเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กวัยเรียนที่ทุพโภชนาการ จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและทันตกรรมฟันดีในเด็กวัยเรียน ตำบลสบสาย ปี 2564ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน เติบโตเต็มศักยภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไปในอนาคต อันเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการป้องกันฟันผุ
2. เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีให้กับเด็กวัยเรียน
3. เพื่อส่งเสริมโภชนาการเด็กให้เหมาะสมตามกลุ่มวัย
4. เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการเกิน โรคอ้วนและแก้ไขปัญหาภาวะเด็กเตี้ยในเด็กปฐมวัย

ตัวชี้วัด
1.เด็กวัยเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย ร้อยละ 66
2.เด็กวัยเรียนมีทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และให้ความสนใจในด้านการออกกำลังกาย ร้อยละ ๘๐
3. เด็กวัยเรียนมีภาวะอ้วนไม่เกิน ร้อยละ 10
4. เด็กวัยเรียนปราศจากฟันผุ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพฟัน     การฝึกแปรงฟัน สำหรับเด็กวัยเรียน (ระดับประถมศึกษา) จำนวน 30 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7650.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการดำเนินการโครงการ ครั้งที่ ๑

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินการโครงการ ครั้งที่ ๑
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ประเมินภาวะโภชนาการหลังการอบรม 2.2 ประเมินความรู้หลังการอบรม 2.3 ประเมินทักษะการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารหลังการอบรมและการดูแลสุขภาพฟัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการโครงการ ครั้งที่ 2 และสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินการโครงการ ครั้งที่ 2 และสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ประเมินภาวะโภชนาการหลังการอบรม 3.2 ประเมินความรู้หลังการอบรม 3.3 ประเมินทักษะการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารหลังการอบรมและการดูแลสุขภาพฟัน
3.4 สรุปผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่ผ่านการอบรมมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม
2. นักเรียนที่ผ่านการอบรมมีทักษะการออกกำลังกายที่เหมาะสม
3. นักเรียนที่ผ่านการอบรมมีภาวะโภชนาการสมวัย
4. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพฟัน และการแปรงฟันที่ถูกวิธี
5. นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ฟันผุลดลง


>