กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพ ดูแล ผู้สูงอายุติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ตำบลสบสาย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

นางประภากร ขัดชา และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ วัยสูงอายุเป็นวัยของการเสื่อม ทั้งนี้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจทำให้เกิดความเสื่อมสลายหลายประการด้วยกัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ความเสื่อมที่เกิดขึ้นนั้นเกิดกับทุกระบบของร่างกายที่เห็นได้ขัดเจนคือระบบประสาทสัมผัส ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อและไขข้อ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพระยะยาว (Long Term Care) และการบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน (Home Health Care) ทั้งยามปกติและยามเจ็บป่วยเป็นการส่งเสริมศักยภาพของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุยังคงอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้นานที่สุด เป็นการให้บริการครอบคลุมด้านสุขภาพและด้านจิตวิทยาสังคม ซึ่งต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการใช้สถานบริการรักษาพยาบาล ขณะที่ยังไม่มีสถานบริการสุขภาพเรื้อรังของภาครัฐรองรับและยังไม่มีระบบบริการสุขภาพที่เข้มแข็ง จึงต้องหากระบวนการการให้บริการ กลไกและช่องทางที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะผ่านทางกลไกและช่องทางของระบบบริการที่มีอยู่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตลอดจนใช้เครือข่ายอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุในชุมชน จากสภาพปัญหาที่พบของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย ได้ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในเขตรับผิดชอบในปี 2563 ผลการดำเนินงานการเยี่ยมบ้าน และการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน พบว่า ภาระงานและขาดบุคลากรจนทำให้เกิดการขาดความครอบคลุมและต่อเนื่อง จึงได้พัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสภาพและการธำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม โดยแกนนำผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลซึ่งเป็นเสมือนญาติ เพื่อนบ้านทีอยู่ในชุมชนเดียวกัน จะมีข้อมูลผู้ป่วยในครัวเรือนที่รับผิดชอบของตนเองทั้งด้านร่างกาย สภาพครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้ง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมได้ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน โรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย จึงต้องพัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ/จิตอาสา/ญาติผู้ดูแล โดยมุ่งเน้นพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ศักยภาพของแกนนำสุขภาพ /จิตอาสา /ญาติผู้ดูแล ให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสายได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ ดูแล ผู้สูงอายุติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ตำบลสบสาย ปี 2564 เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ในการดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้และทักษะในการคัดกรอง เฝ้าระวังผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้

ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 55 ของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์
2. ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตามกระบวนการ (Care Plan) แบบระยะยาว (Long Term Care)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ด้วยแบบประเมินผู้สูงอายุ ADL

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ด้วยแบบประเมินผู้สูงอายุ ADL
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ด้วยแบบประเมินผู้สูงอายุ ADL

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุแยกตามกลุ่ม ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุแยกตามกลุ่ม ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุแยกตามกลุ่ม ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่บ้านตาม Care Plan โดย CG

ชื่อกิจกรรม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่บ้านตาม Care Plan โดย CG
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่บ้านตาม Care Plan โดย CG

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจงและแนวทางการดำเนินงานลดความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุพัฒนาศักยภาพ ให้แก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงและแนวทางการดำเนินงานลดความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุพัฒนาศักยภาพ ให้แก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงและแนวทางการดำเนินงานลดความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุพัฒนาศักยภาพ ให้แก่ อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมเชิงปฏิบัติการในแกนนำและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้ในการป้องกัน การพลัดตก หกล้ม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการในแกนนำและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้ในการป้องกัน การพลัดตก หกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการในแกนนำและผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้ในการป้องกัน การพลัดตก หกล้ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพสามรถดูแลกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้สูงอายุ (กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง) ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง การให้กำลังใจโดยผ่านการเยี่ยมบ้านและ มีสุขภาพจิตที่ดี


>