กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ องโคกโพธิ์์ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในศาสนาอิสลามการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตนั้น ถือเป็นสิ่งที่มุสลิมเพศชายทุกคนพึงปฏิบัติ ซึ่งมีความเป็นมาเกี่ยวกับการทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัด ตบแต่ง เพื่อขจัดความสกปรกที่จะทำให้เกิดโรคได้ ในภาษาอาหรับเรียกว่า “คิตาน” และทางการแพทย์เรียกว่า “เซอร์คัมซัสซัน”(Circumcision) ซึ่งหมายถึง การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (ส่วนเกิน) ออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิด ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและสามารถล้างสิ่งสกปรกจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่หมักหมมอยู่ตามบริเวณใต้หนังหุ้มอวัยวะ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค ในทางการแพทย์ได้ให้ความเห็นว่า การเข้าสุนัต เป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก และแนะนำให้เด็กที่เกิดมาทุกคน ได้รับการเข้าสุนัต
การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายหรือการเข้าสุนัตนั้นถือเป็นการศัลยกรรมเล็ก และทำได้ง่าย แต่ต้องกระทำโดยผู้ที่มีความรู้และชำนาญ อุปกรณ์ที่ใช้ต้องปราศจากเชื้อ ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น นอกจากการรณรงค์ให้เยาวชนมุสลิมได้รับบริการที่สอดคล้องกับศาสนาแล้ว การสร้างความตระหนักและคามเข้าใจในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมป้องกันโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ด้วยการนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่จึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

25.00 80.00
2 2. เพื่อให้เยาวชนมุสลิมได้รับบริการที่สอดคล้องกับศาสนาและปลอดการติดเชื้อ

เยาวชนมุสลิมที่ได้รับบริการปลอดจากการติดเชื้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

25.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 17/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย และบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย และบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ

  1. แต่งตั้งคณะทำงาน

  2. ประชุมเพื่อเตรียมงาน

  3. เขียนโครงการ

  4. ประชาสัมพันธ์หากลุ่มเป้าหมาย

  5. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

  6. ประสานผู้เข้าร่วมดำเนินโครงการ

  7. จัดกิจกรรมตามโครงการ

  8. สรุปโครงการ

สถานที่ดำเนินการ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

งบประมาณ

งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่จำนวน 40,100 บาท (เงินสี่หมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย และบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)

งบประมาณ

  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1*2 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน400 บาท

  2. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.44*2.47 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน720 บาท

  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน1,800 บาท

  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท

  5. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มจำนวน 40 ชุด ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

  6. ค่าตอบแทนหัตถการและค่าวัสดุการแพทย์ จำนวน 25 คน ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

  7. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เป็นเงิน 3,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,120 บาท (เงินสี่หมื่นสองพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2565 ถึง 17 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

  2. เพื่อให้เยาวชนมุสลิมในพื้นที่ได้รับบริการที่สอดคล้องกับศาสนาและปลอดการติดเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,120.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

2. เพื่อให้เยาวชนมุสลิมในพื้นที่ได้รับบริการที่สอดคล้องกับศาสนาและปลอดการติดเชื้อ


>