กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านวิถีใหม่ สู้ภัยโควิด - 19 ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง

1.นายอนุรักษ์ ผิวผ่อง

พื้นที่ตำบลบางแม่นาง 12 หมู่บ้าน ( 1, 2, 3, 5, 6, 12, 13, 14, 15, 16, 17 และ 18 ) ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บางแม่นาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัจจุบันปัญหาโรคโควิด 19 ได้รับการแก้ไขด้วยมาตรการภาครัฐและความร่วมมือ ของประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอ หน่วยงานภาครัฐอื่นและเอกชนสนับสนุนในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโดยการลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน แจ้งข่าวสาร ให้ความรู้ คัดกรอง ตามรูปแบบวิถีปกติใหม่ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองลดลง ดังนั้นเพื่อเป็นส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองตามระยะการผ่อนคลายตามมาตรการของทางราชการ รวมถึงเกิดพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านวิถีใหม่สู้ภัยโควิด 19 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางแม่นาง
ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการที่ขอรับสนับสนุนจะต้องปฏิบัติตามมาตรการของส่วนราชการกำหนด ซึ่งปัจจุบันได้มีการผ่อนคลายมาตรการเพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนสามารถดำเนินกิจกรรมและใช้ชีวิต
ได้ตามรูปแบบ New Normal ได้อย่างเหมาะสม การดำเนินงานและจัดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจึงมีการปฏิบัติ เพื่อให้สอดรับกับมาตรการดังกล่า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด
2.เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะแกนนำในชุมชนในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่
3.เพื่อสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการทำงานของ อสม. ในพื้นที่ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
1.2 ประเมินความพร้อมและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับทีมงานในหมู่บ้าน
1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการให้คนในชุมชนทราบ
1.4 ประชุมทีมงานตามโครงการและติดตามการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ (กิจกรรมอบรมให้ความรู้)

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ (กิจกรรมอบรมให้ความรู้)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพทีมประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย อสม. ครู และนักเรียน จำนวน 60 คน เพื่อร่วมออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิดในระดับหมู่บ้าน โรงเรียน วัด และดำเนินการตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13020.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นดำเนินการ (ออกตรวจคัดกรองเชิงรุก ด้วยชุดตรวจ ATK)

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ (ออกตรวจคัดกรองเชิงรุก ด้วยชุดตรวจ ATK)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจข้อมูลพื้นที่เสี่ยงสูง และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคโควิด
  • จัดทำแผน ออกตรวจคัดกรองเชิงรุก ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลตรวจ ATK บวก ให้ส่งตรวจต่อ ที่รพ.
  • สร้างมาตรการทางสังคม ให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องได้รับการกักตัว หรือผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ รพ. /ศูนย์ ดูแลผู้ป่วย
  • ให้คำแนะนำเพื่อจัดการปัญหาและผลกระทบจากโรคโควิด รวมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามวิถีปกติใหม่ของคนในหมู่บ้านและรณรงค์ให้คนในหมู่บ้านสมหน้ากากอนามัย ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง                    และแนะนำให้มีการฉีดวัคซีน รวมทั้งมาตรการเฝ้าระวังการจัดงานต่าง ๆ โดยทีม อสม. /ผู้ใหญ่บ้าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
489000.00

กิจกรรมที่ 4 ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุน ทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 502,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในระดับหมู่บ้าน 12 หมู่
2. แกนนำในชุมชนมีความรู้และพัฒนาทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้ ร้อยละ 100
3. เกิดกระบวนการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ อสม. ในพื้นที่ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ในหมู่บ้านร้อยละ 100


>