กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านต้นแบบ ลดเค็ม ลดโรค ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง

1.นายอนุรักษ์ ผิวผ่อง

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นางหมู่ที่ 16

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยภาวะที่เร่งรีบจากกระแสการพัฒนาในยุคปัจจุบัน ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของวัตถุนิยมทำ ให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เกิดค่านิยม วัฒนธรรม และวิถีการด ดำเนินชีวิตที่ไม่เพียงพอ ขาดความสมดุลทำให้ประชาชนขาดการเอาใจใส่ดูแล ควบคุม และป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารขยะหรือจั๊งค์ฟู้ด (Junk Food) ที่มีส่วนประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล น้ำมัน ไขมัน ผงชูรส และเกลือมากขึ้น เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน อาหารทอด อาหารขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่ง ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่ม รสหวาน เป็นต้น โดยสามารถหาซื้อได้ง่าย สะดวก เป็นต้น การประกอบอาหารกินเองที่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้น้อยลง ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรม สุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การที่ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งถ้าเป็นเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิด ภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้เพราะฉะนั้นแนวทางในการลดอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ ลดการกินเค็ม การปรุงอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมากและคาดว่าจะมี ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง ได้เห็นความสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงจึงได้จัด
ทำโครงการหมู่บ้านต้นแบบ ลดเค็ม ลดโรค ปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักต่ออันตรายที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารเค็ม และป้องกันการเกิดกลุ่มเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารรสเค็ม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักต่ออันตรายที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารเค็ม
2. เพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารรสเค็ม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการและเสนออนุมัติโครงการจากประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางแม่นาง
  2. ประชุมเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการแก่ บุคลากรสาธารณสุข, อสม. หรือแกนนำชุมชน
  3. ประชาสัมพันธ์และสำรวจ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในโครงการ จำนวน 50 หลังคาเรือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1. ดำเนินการตรวจวัดความเค็มในตัวอย่างอาหาร บ้านกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องวัดความเค็มของอาหาร
และทำแบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มในชีวิตประจำวันก่อนการอบรม 2.2 จัดอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน (1 คน ต่อ 1 หลังคาเรือน ) อสม. 10 คน  รวม 60 คน               - กิจกรรมให้ความรู้ 3อ.2ส./6:1:1
              - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามมาตรการชุมชนลดเค็ม               - การให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.3 อสม. ตรวจวัดความเค็มในตัวอย่างอาหาร โดยใช้เครื่องวัดความเค็มของอาหาร และทำแบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มในชีวิตประจำวันหลังการอบรม ทุกๆ 15 วัน เป็นเวลา 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17060.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นสรุปการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ขั้นสรุปการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้กลุ่มเสี่ยงโรคไต และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้เข้ารับการอบรม(ผู้กลุ่มเสี่ยงโรคไต และโรคความดันโลหิตสูง) มีผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มดีขึ้น


>