กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง

นายอิมรอนหะยีสามะ
นายไบตุลมาลย์อาแด
นายมะอูเซ็งสาแล

ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ไวรัสโคโรนา 2019(COVID - 19) ในประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกักการกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน การตั้งศูนย์พักคอย เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID - 19) ในพื้นที่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม และจังหวัดปัตตานีปัจจุบันก็ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายวันเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเพิ่มมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรคโดยการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกัก การกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน การตั้งศูนย์พักคอยเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในพื้นที่
การดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อำเภอยะรัง
ตามหนังด่วนที่สุด 0023.15/ ว224 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เรื่อง การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ตามที่อำเภอยะรังได้แจ้งซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid - 19)) และแนวทางการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแจ้งแนวทางการเปิดสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 34) ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน 2564 รวมทั้งพิจารณาจัดหาอุปกรณ์การตรวจหาเชื้อ ATK ให้แก่สถานศึกษาในสังกัดตามความจำเป็นและเหมาะสม
ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเปิดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เลยได้จัดโครงการส่งเสริมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา ขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสในสถานศึกษาและค้นหาเชิงรุกในสถานศึกษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสในสถานศึกษา

 

0.00
2 เพื่อค้นหาเชิงรุกในสถานศึกษา

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสนับสนุนชุดตรวจหาเชื้อ ATK

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนชุดตรวจหาเชื้อ ATK
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนชุดตรวจ ATK จำนวน 400 ชุดๆละ  80 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานศึกษาได้รับสนับสนุนวัสดุทางการแพทย์ ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อควบคุมป้องกันโรคในสถานศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนได้รับการตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ครบถ้วนตามเป้าหมาย


>