กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.หมอประจำบ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรม อสม.ตำบลนาท่ามใต้

1.นางน้องนุช หนูนาค
2.นางจรัส ชอบชูผล
3.นางกันยา อ่อนสนิท
4.น.ส.สุคนธ์ จันทร์เเพชร
5.นางปราณี นานอน

ตำบลนาท่ามใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00
3 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

50.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในปี ๒๕๖๒ รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ให้เป็น อสม. หมอประจำบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุขในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ เข้าถึงข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ตนเอง ครอบครัวและชุมชน ตลอดจนพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ทั้งนี้จะเริ่มขับเคลื่อนและพัฒนา อสม. หมอประจำบ้าน ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เป็นต้นไป และกระทรวงสาธารณสุขคาดหวังว่าการดำเนินงาน ตามนโยบายดังกล่าวจะแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางไปพบแพทย์ ลดโรคและปัญหา สุขภาพ และลดความแออัดของโรงพยาบาลลดการพึ่งพาโรงพยาบาลได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
รัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุข มีความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนายกระดับ อสม. เป็น “อสม. หมอประจำบ้าน” ด้วยเห็นคุณค่าความสำคัญของ อสม. ในฐานะเป็นแกนนำสำคัญในการดูแล ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการดูแลสุขภาพของประชาชนให้สามารถ พึ่งตนเองด้านสุขภาพมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนลดการพึ่งพาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ช่วยผู้ป่วยลดภาวะ แทรกซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล อีกทั้ง ช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล ทั้งนี้ หนึ่งในบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของ “อสม. หมอประจำบ้าน” คือ การส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยเป็นแกนนำในการส่งเสริมให้ประชาชน ดูแลปฏิบัติตนด้านการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ห่างไกลสารเสพติดและอบายมุข เพื่อช่วย ลดอัตราการป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิตและการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่มุ่งหวัง เพื่อให้การปฏิบัติงานของ “อสม. หมอประจำบ้าน” ถูกต้องและสัมฤทธิ์ผล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามใต้ จึงได้จัดทำ โครงการ อสม.สู่ หมอประจำบ้าน” ขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรอบรู้และทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสริมสร้างความเชื่อมั่นและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสุขภาพชุมชนและให้ “อสม. หมอประจำบ้าน” เป็นแนวทางปฏิบัติงาน และแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 50 บาทต่อวัน จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและ จำนวน 60 คนๆละ 25 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 อสม.มีความรู้และทักษะเพิ่มมากขึ้น 2. มีบุคคลต้นแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค - สำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 783 ครัวเรือนทุกสัปดาห์ (12 สัปดาห์ฤดูระบาด)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค - สำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 783 ครัวเรือนทุกสัปดาห์ (12 สัปดาห์ฤดูระบาด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนในการประเมินครัวเรือน 12 สัปดาห์ๆ ละ4 หมู่บ้านๆ ละ 4 คนๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
  • แบบฟอร์มสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 783 ครัวๆ ละ 12 แผ่นๆ ละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 4,698 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28698.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยงต่อโรค - คัดกรองสุขภาพประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปด้วยหลัก 3 อ.2 ส.(1,607 ครัวเรือน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยงต่อโรค - คัดกรองสุขภาพประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปด้วยหลัก 3 อ.2 ส.(1,607 ครัวเรือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์ม จำนวน 1,607 ชุด

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6410.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,108.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีความรู้และทักษะเพิ่มมากขึ้น
2. มีบุคคลต้นแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม


>