กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำ ปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพผู้บริโภค ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคหมู่ที 1-4 ตำบลควนสตอ

1.นางเจะอันหมันเส็น
2.นายหมาดสอและสกุลา
3.นางอัคริมาบุญชู
4. นางรอหวันอุเจ๊ะ
5.นางร่อเดียหลงโส๊ะ

หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่มักจะซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องสำอาง ยาและของใช้ต่างๆซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นเครื่องสำอางที่มีสารอันตราย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค
หมู่ที่1ถึง หมู่ที่ 4ควนสตอ มีร้านชำเพิ่มขึ้นในหมู่บ้านจึงทำให้ประชาชนมีความสะดวกในการซื้อ ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ยา หรือของใช้ต่างๆเครื่องอุปโภคและบริโภคซึ่งถ้าผู้บริโภคมีความเข้าใจที่ผิดขาดความรู้ที่ถูกต้องและมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานก้ออาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตราย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ

ดังนั้นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 4 ได้เล็งเห็นความสำคัญของประชาชนและร้านชำในการใช้ผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภคให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยให้น้อยลงจึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานไม่มีสารเคมีอันตราย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพให้กับประชาชนในชุมชนได้ 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องยาและประเภทของยาแต่ละชนิดและสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้ 3. ประชาชนมีความรู้และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง 4. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ในพื้นที่สามารถให้ความรู้และคำแนะนำในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชนได้

ร้อยละ 80ของร้านชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้องตามมาตรฐาน ร้อยละ 90ของร้านชำจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ร้อยละ  90 มีความรู้และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ  80เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ในพื้นที่สามารถให้ความรู้และคำแนะนำในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการร้านชำ ปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพผู้บริโภค ปี 2565

ชื่อกิจกรรม
โครงการร้านชำ ปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพผู้บริโภค ปี 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน  80 คน  - ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม 80  คน x 1 มื้อx 55 บาทเป็นเงิน 4,400บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คน x 2 มื้อx 25 บาท  เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ผืนละ 300 บาท x 1 ผืนเป็นเงิน 300  บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน X 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท - ค่าวัสดุอบรม
-ปากกา  80 ด้ามๆ 7  บาท  เป็นเงิน    560  บาท - สมุด   80 เล่มๆ  10 บาท  เป็นเงิน   800    บาท                                    เป็นเงิน  1,360 บาท กิจกรรมย่อย -จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

ค่าไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์หมู่ละ  1 ผืน จำนวน  4 ผืน  ผืนละ  300บาท  เป็นเงิน  1200  บาท

รวมเป็นเงิน  12,760 บาท ( เงินหนึ่งหมื่นสองพันเจ็ดร้อยหกสิบบาทถ้วน )

ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน  80 คน  - ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม 80  คน x 1 มื้อx 55 บาทเป็นเงิน 4,400บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คน x 2 มื้อx 25 บาท  เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ผืนละ 300 บาท x 1 ผืนเป็นเงิน 300  บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน X 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท - ค่าวัสดุอบรม
-ปากกา  80 ด้ามๆ 7  บาท  เป็นเงิน    560  บาท - สมุด   80 เล่มๆ  10 บาท  เป็นเงิน   800    บาท                                    เป็นเงิน  1,360 บาท กิจกรรมย่อย -จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

ค่าไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์หมู่ละ  1 ผืน จำนวน  4 ผืน  ผืนละ  300บาท  เป็นเงิน  1200  บาท

รวมเป็นเงิน  12,760 บาท ( เงินหนึ่งหมื่นสองพันเจ็ดร้อยหกสิบบาทถ้วน )

ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
2. ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องยาและสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้
3. ประชาชนมีความรู้และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง
4. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้และคำแนะนำในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพได้


>