กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัคซีนเพื่อลูกรัก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 2

อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 2 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบริการวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยเน้นวัคซีนป้องกันโรค ที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด ได้แก่ วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB) วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT)การสร้างเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้ลูกน้อยด้วยการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะวัคซีนจะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน และปกป้องลูกน้อยของคุณจากการเจ็บป่วยต่างๆได้ แม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆ ปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่า เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบว่า ยังมีปัญหาเรื่องความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคที่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย ทําให้มีเด็กที่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนเป็นประจําทุกปี ประกอบกับผู้ปกครองขาดความรู้ และทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีน โดยเฉพาะมีความกลัวว่าบุตรหลานมีไข้หรือไม่สบายมากหลังจากได้รับวัคซีน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ 0 – 5 ปีจึงจัดทำโครงการวัคซีนเพื่อลูกน้อย เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน และเพื่อให้เด็กในพื้นที่ตำบลนาประดู่มีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องของวัคซีน และการดูแลหลังได้รับวัคซีน

ร้อยละผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องของวัคซีน และการดูแลหลังได้รับวัคซีนมากขึ้น

100.00 90.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ

ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุมากขึ้น

100.00 90.00
3 เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ร้อยละเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนดมากขึ้น

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจรวบรวมข้อมูลความครอบคลุมและติดตามการได้รับวัคซีน เด็กอายุ 0-5ปี ในเขตรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจรวบรวมข้อมูลความครอบคลุมและติดตามการได้รับวัคซีน เด็กอายุ 0-5ปี ในเขตรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การดำเนินกิจกรรม

1.สำรวจและรวบรวมข้อมูลความครอบคลุมการได้รับวัคซีน

2.ติดตามการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี

3.ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่ไม่ฉีดวัคซีน และไม่มาตามนัด

งบประมาณ

1.ค่าสำรวจ รวบรวมข้อมูล และติดตามการได้รับวัคซีนตามกำหนด ในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่ทีมอสม. จำนวน 15 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีฐานข้อมูลเด็กอายุ 0-5 ปี

2.มีการติดตามและดูแลการรับวัคซีนตามกำหนดอย่างใกล้ชิด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี เกี่ยวกับวัคซีน และจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีแก่ผู้ปกครองเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี เกี่ยวกับวัคซีน และจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีแก่ผู้ปกครองเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การดำเนินกิจกรรม

1.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี เกี่ยวกับวัคซีน

2.จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีแก่ผู้ปกครองเด็ก

งบประมาณ

1.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ 50 ชุดๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท

2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ 50 ชุดๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท

3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*4 เมตร 1 ผืน เป็นเงิน 800 บาท

4.ค่าเอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม (แฟ้ม, สมุด, ปากกา, กระดาษ และปากกาเคมี) เป็นเงิน 3,200 บาท

6.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการดูแลหลังได้รับวัคซีนร้อยละ80

  1. ผู้ปกครอง 0-5 ปี มีความตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น

    3.การได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 90

    4.เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการดูแลหลังได้รับวัคซีนร้อยละ 80

2. ผู้ปกครอง 0-5 ปี มีความตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น ร้อยละ 80

3. การได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 90

4. เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>