กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย สดใส วัย 70 ยังแจ๋ว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง

พื้นที่เขตรับผิดชอบ ม. 1, 2,4และ 10ตำบลเขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้สูงอายุมีฟันคู่สบไม่น้อยกว่า4 คู่

 

50.30
2 ร้อยละฟันแท้ใช้งานไม่น้อยกว่า 20 ซี่

 

46.67
3 ร้อยละผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

44.62

ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ โดยข้อมูลปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 12.6 ล้านคนจากจำนวนประชากรรวม 66 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 19.1 ของประชากรรวม และคาดว่า ในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังคำกล่าวว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ 56.1 ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ 20 ซี่ และผู้สูงอายุมีฟันแท้คู่สบ 4 คู่ ขึ้นไป ร้อยละ 40.2 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นจะมีจำนวนมากกว่าครึ่ง มีฟันถาวร 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลือนั้นยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ปัญหาที่สำคัญได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ 60-74 ปี พบร้อยละ 8.7 แต่เมื่ออายุ 80-85 ปี เพิ่มสูง ถึงร้อยละ 31.0 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก และจากกการสำรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้ใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป ร้อยละ 46.67และร้อยละผู้สูงอายุมีฟันคู่สบไม่น้อยกว่า 4 คู่ร้อยละ 50.30 เมื่อปี 2564เมื่อเทียบกับเป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ และรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ให้กลุ่มผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสมยืดอายุการใช้งาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ ให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ซึ่งในระยะยาวจะลดการสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตรวจสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น

ร่้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลการตรวจสุขภาพช่องปาก

44.62 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันแท้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่

ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุมีฟันแท้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่

46.67 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 250
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานผู้สูงอายุ  ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก   ประกอบด้วย  จนท. รพ.สต.  จำนวน 2 คน  จนท.ทันตภิบาล  จำนวน 1 คน  ทัคนแพทย์  จำนวน 1 คน  และแกนนำผู้สูงอายุ  จำนวน 10 คน   รวม 14 คน
-ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ -คืนข้อมูลการสำรวจผลการดำเนินงาน  ปี 2564 เรื่องการดูแลช่องปากผู้สูงอายุ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  14 คนๆละ25 บาท  จำนวน 1 มื้อ  จำนวน  350  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กรกฎาคม 2565 ถึง 7 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมร่วมกัน  1 ครั้ง 2. มีแกนนำการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกการแปรงฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกการแปรงฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องการดูแลสุุขภาพช่องปากโดยมีการประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันและให้การรักษาตามความจำเป็นของผู้สูงอายุ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 250คน มื้อละ 25 บาทจำนวน6,250 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน250คน จำนวน1 มื้อๆละ70 บาท จำนวน17,500บาท -ค่าชุดผลิตภัณฑ์ฝึกทักษะแปรงสีฟันจำนวน 250ชุดๆละ 40บาทรวมเงิน10,000 บาท
-ค่าชุดตรวจ ATK ชนิด (profesional)จำนวน250 ชุดๆละ105บาทจำนวน26,250บาท -ค่าวัสดุทันตกรรม จำนวน10000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กรกฎาคม 2565 ถึง 13 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้รู้สุขภาพช่องปากตนเอง 3.กลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกปฎิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมบ้านให้การตรวจรักษาสุขภาพฟันผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้านให้การตรวจรักษาสุขภาพฟันผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเยี่ยมบ้านให้การตรวจรักษาสุขภาพฟันผู้สูงอายุที่ติดบ้าน  ติดเตียง  ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากโดยให้การรักษาผู้ป่วยที่บ้านแบบเบ็ดเสร็จ  โดยทันตแพทย์จาก  รพ.ศรีบรรพต  ลงพื้นที่ดำเนินการให้ทุกคนที่มีปัญหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยติดบ้าน  ติดเตียงที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกคน
2.ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษา  ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประกวดฟันสวย สดใส วัย 70 ยังแจ๋ว มีการประกวดสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดฟันสวย สดใส วัย 70 ยังแจ๋ว มีการประกวดสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประกวดฟันสวย  สดใส  วัย 70  ยังแจ๋ว  มีการประกวดสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ  โดยให้แต่ละหมู่บ้านส่งผู้สูงอายุที่จะประกวดสุขภาพช่องปาก  หมู่ละ  3  คน  จำนวน  4 หมู่บ้าน  รวม 12 คน เพื่อประกวด  โดยมีทันตแพทย์ หรือทันตภิบาล  ตรวจสุขภาพช่องปากผู้เข้าประกวดด้วยตนเอง  และมีการมอบประกาศเกียรติบัตรเพื่อเสริมพลังให้กำลังใจผู้สูงอายุที่ดูแลสุขภาพช่องปากได้ดี

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องผากผู้สูงอายุ 2.ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสรุปผล คืนข้อมูลแก่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผล คืนข้อมูลแก่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสรุปผล  คืนข้อมูลแก่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน  จำนวน  14 คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 14 คนๆละ 25 บาท  จำนวน  350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กันยายน 2565 ถึง 9 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุม  กรรมการเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 100 2.มีการคืนข้อมูลการดำเนินโครงการแก่กรรมการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้รู้สุขภาพช่องปากตนเอง
3.กลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกปฎิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี


>