กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมธารน้ำทิพย์ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การประกอบอาชีพเกษตรกรรมถือเป็นกำลังสำคัญที่เป็นรากฐาน ทางเศรษฐกิจของชาติ การดูแลสุขภาพเกษตรกรจึงเป็นงานสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูและวัชพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรู และวัชพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯ ที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ
จากข้อมูลกรมควบคุมโรคตั้งแต่ปี 2546-2555 พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,734 ราย สำหรับผลการตรวจปี 2555 ทำการตรวจเกษตรกรไปทั้งสิ้น 244,822 ราย พบเกษตรกรที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 75,749 ราย คิดเป็น 30.94% ขณะที่ปี 2556 ทำการตรวจเกษตรกรไปทั้งสิ้น 314,805 ราย ในจำนวนนี้พบผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 96,227 ราย คิดเป็น 30.54% และในปี 2557 ที่ได้ทำการตรวจเกษตรกรไปทั้งสิ้น 317,051 ราย พบว่าในจำนวนนี้ 107,820 ราย มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย นั่นหมายถึงจำนวน 34 % หรือ 1/3 ของเกษตรกรมีความไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในการเกษตร
จากการสำรวจพบว่าประชากรในพื้นที่ตำบลธารน้ำทิพย์เป็นพื้นที่ที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการสารเคมีตกค้าง นอกจากนี้เมื่อปีงบประมาณ 2562 ได้ดำเนินการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกร จำนวน 113 ราย พบว่า มีจำนวนเกษตรกรที่ผลเลือดความเสี่ยงจำนวน 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.13 และพบว่าผลเลือดไม่ปลอดภัย จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.65
จากข้อมูลข้างต้นทำให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธารน้ำทิพย์ได้ตระหนักและเล็งเห็นปัญหาสุขภาพของเกษตรกรในตำบลธารน้ำทิพย์ จึงจัดทำ“โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมธารน้ำทิพย์”ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
1.2 เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
1.3 เพื่อให้เกษตรกรมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
1.4 เพื่อค้นหา และติดตามผู้ป่วยโรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.1.2 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมธารน้ำ-ทิพย์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.2.1 ซักประวัติ, ตรวจสุขภาพร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ     2.2.2 เจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด     2.2.3 จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
และป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม     2.2.4 จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และปัญหาของการป้องกันตนเอง จากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม     2.2.5 แจ้งผลเลือดที่เข้าร่วมการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
             2.2.5.1 ในกรณีผลเลือดปกติ แนะนำการใช้ชีวภาพแทนสารเคมี                2.2.5.2 ในกรณีเลือดผิดปกติ จะร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เลือดผิดปกติ พร้อมทั้งชี้แนะเห็นให้โทษของการใช้สารเคมี แล้วนำไปสู่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีโดยใช้ชีวภาพแทน มีการติดตามสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และนัดเจาะเลือดซ้ำอีก 1 เดือน
    2.2.6 กำหนดข้อตกลงของชุมชนในการทำเกษตรปลอดภัยใส่สุขภาพ     2.2.7 จัดตั้งชมรมเกษตรปลอดภัยใส่ใจสุขภาพในเกษตรกรรายใหญ่     2.2.8 ส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยในการปลูกผักริมรั้วทานเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.1 ร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น
7.2 ร้อยละ 100 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
7.3 ร้อยละ 50 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการปฏิบัติตนการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม


>