กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลเชิงรุกที่บ้านโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ม.2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ 2 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

1.นางจรัสชอบชูผล 2. นางสมใจแท่งทอง
3.นางวราภรณ์แสนยศ 4. นางจันทร์จิราต้องประสงค์
5.น.ส. พิชชานันท์นานอน

ม.2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

80.00

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย พิการและเสียชีวิต ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของ ภาครัฐ เอกชน และสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิต่างแออัดไปด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า รายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอ ต่อการใช้จ่ายในการรักษาบุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือ แพทย์ต่างๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคความดัน โลหิตสูงและเบาหวาน มีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ 15 ปี ขึ้นไปทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การวัดความดันโลหิตการชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นกลุ่มเสี่ยงต้องได้ได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรคโดยบุคลากรสาธารณสุขเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการดูแลเชิงรุกที่บ้านโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ให้การดำเนินงานตรวจคัดกรอง ติดตามกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงอย่างเข้มข้น และเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอย่างรวดเร็วและครอบคลุม ช่วยเหลือไม่ให้เกิดภาวะการเกิดโรค

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานร้อยละ 95

95.00 95.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการตรวจรักษาและควบคุมปัจจัยอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานควบคุมภาวะโรคได้ร้อยละ 50

50.00 50.00
3 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ได้รับการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

อสม. ได้รับการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 100

80.00 100.00
4 เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะเป็นโรค โดยดูแลระยะเข้มข้นที่บ้าน

ติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเสี่ยงเบาหวานระยะเข้มข้นที่บ้าน ร้อยละ 50

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 74
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 550
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย (1.1 อบรมฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานกลุ่ม อสม. ร้อยละ 100)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย (1.1 อบรมฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานกลุ่ม อสม. ร้อยละ 100)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,750 บาท แบ่งเป็น - วิทยากร (รพ.สต.นาท่ามใต้สนับสนุน) - ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 19 คน เป็นเงิน 475 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 19 คน เป็นเงิน 950 บาท - จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท - เครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน 2 เครื่องๆ ละ 750บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - กล่องใส่อุปกรณ์ จำนวน 3 กล่องๆ ละ 190 บาท เป็นเงิน 570 บาท - ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 855 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสมได้รับการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองค้นหาโรค ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12750.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพคัดกรองโรคความดันโลหิตและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพคัดกรองโรคความดันโลหิตและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ตรวจสุขภาพคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 95 2.2 ตรวจสุขภาพและให้ความรู้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพื่อควบคุมโรค ร้อยละ 40 2.3 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ติดตามวัดความดันโลหิต เจาะเบาหวาน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงระยะเข้มข้น ภายใน 1 สัปดาห์ วันละ 2 ครั้ง ร้อยละ 50

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
  2. อสม.สามารถให้ความรู้ และให้คำแนะนำประชาชนในพื้นที่ได้
  3. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยสามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยการติดตามระยะเข้มข้นของชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม
2. อสม. สามารถให้ความรู้และแนะนำประชาชนในพื้นที่ได้
3. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยสามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยการติดตามระยะเข็มข้นของชุมชน


>