กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมส่วน สมวัย ลำพะยาไร้พุง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

องค์การบริหาาส่วนตำบลลำพะยา

ตำบลลำพะยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน

 

25.00
2 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

51.96

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ความทันสมัยของเทคโนโลยี การเข้าถึงมีโลกโซเชียลการมีบริการ Deliveryเกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การบริโภคอาหารไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี ทำให้เกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรม มีอุบัติการณ์สูงขึ้นอย่างมาก เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเกิดจากการมีไขมันสะสมโดยเฉพาะรอบเอวของผู้ชาย 90 ซม. (36″) หรือมากกว่า และรอบเอวผู้หญิง 80 ซม. (32″) หรือมากกว่า จากข้อมูล HDC ของตำบลลำพะยา ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วนร้อยละ25.0และจากข้อมูล TCNAPร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี )ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง ร้อยละ 51.96 ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ปัญหาที่ควรมีการแก้ไข ที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม คนไทยไร้พุง เพื่อนำพาคนลำพะยาไปสู่การเป็นคนมีสุขภาพกายที่ดี เมื่อสุขภาพกายดีย่อมก่อให้เกิดสุขภาพใจดีด้วย เข้าตำราความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้านอาหารโภชนาการ และการดำรงชีวิตที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายทั้งภายนอกและภายในโดยการใช้แรงกายที่เหมาะสมของคนในชุมชนอันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือให้ดำรงชีวิตแบบไม่มีโรคที่ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐนั่นเอง องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา จึงได้จัดทำโครงการ“สมส่วน สมวัย คนลำพะยาไร้พุง” ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมเด็ก เยาวชน ประชาชนในพื้นที่ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและการดำรงชีวิตที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและภาวะอ้วนลงพุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง ลดลง

51.96 15.00
2 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วน

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน

25.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1
อาสาสมัครเกษตร 1

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงาน  จำนวน 15 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 375 บาท
กำหนดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถกำหนดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 สลายพุงด้วยแอร์โรบิค

ชื่อกิจกรรม
สลายพุงด้วยแอร์โรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ช.ม ใน 1 เดือนเต้น 12 ชั่วโมงจำนวน7 เดือน เเดือนละ 3,000 บาท เป็นเงิน 21,000 บาท -กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมการออกกำลังกายอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไปทุกวันจันทร์ - พุธ -ศุกร์ วันละ1 ชั่วโมง
-เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 1 เครื่อง เป็นเงิน4,100 บาท -ชั่งน้ำหนัก ก่อน เข้าร่วมโครงการ
-ชั่งน้ำหนัก หลัง จากสิ้นสุดโครงการ -ค่าบริการน้ำดื่ม84 ลัง เป็นเงิน 6,720บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี  ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วนลดลง ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี ) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31820.00

กิจกรรมที่ 3 ปลูกผักปลอดสารสร้างสังคมเอื้อไมตรี

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักปลอดสารสร้างสังคมเอื้อไมตรี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ค่าวิทยากร  2 ช.ม. ละ 600 เป็นเงิน 1,200 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 60 คน   เป็นเงิน 3,000  บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน               เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าวัสดุในการจัดทำแปลงผัก
แบ่งกลุ่มทำแปลงผัก กลุ่มละ 6 คน  จะได้แปลงผัก 10 แปลง
ค่าดินปลูก                                          เป็นเงิน 7,000 บาท ค่าพันธ์ุผัก                                          เป็นเงิน 2,000 บาท ค่าปุ๋ย                                                เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผักปลอดสารพิษรับประทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,395.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>