กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผักปลอดภัยหนูน้อยแข็งแรง ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง ม.2 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

9.93
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

38.46
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะอ้วน

 

14.46

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทย เป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทย ผอม เตี้ย อ้วนเพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้นและกิจกรรมทางกายและการ ออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญทั้งปัจจุบันปัญหาภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเวลาเดียวกันโดยเฉพาะในวัยเด็ก ผลกระทบอันเกิดจากภาวะผอมและเตี้ยของเด็กไทยจะส่งผลต่อภาวะไอคิวของเด็กไทยที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 98.2 เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย หรืออ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากการสำรวจเด็กอายุ 0-5 ปี ในตำบลตลิ่งชันอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม ร้อยละ 9.93 ภาวะเตี้ย ร้อยละ 38.46 ภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ร้อยละ 14.46และเด็กที่มีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 52.97
ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย การจัดการอาหารที่ดี นอกจากจะคำนึงถึงรสชาติแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงรสชาติแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหาด้วยด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลองได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษ และการออกกำลังกายของเด็ก จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ผักปลอดสาร เด็กแข็งแรง ปี 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการประกอบอาหารรับประทานเองในครอบครัวการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษร เป็นการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กปฐมวัย ลดภาวะทุพโภชนาการขึ้น โดยเน้นที่การปรับอาหารกลางวันของแม่ครัว และเพิ่มให้ในมื้ออาหารนั้นมีสัดส่วนของปริมาณผัก ผลไม้ในกระบวนการทำอาหารกลางวันถูกต้องตามหลักโภชนาการ พร้อมทั้งสร้างความรู้/ความตระหนักให้ครู ผู้ปกครองเด็กเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนลดการบริโภคน้ำหวานลง และเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ อาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของเด็กปฐมวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง /ครู แม่ครัว มีความรู ความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง/ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการอย่างถูกต้อง

9.00 5.00
2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการตามวัย

36.00 30.00
3 เพื่อลดอัดตราการป่วยในเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 80 เด็กป่วยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราลดลง

9.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 36
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสาร เพื่อประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย 1.  ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ 1 ป้าย (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.) =     1,000 บาท 2.  ค่าตอบแทนวิทยากร (1 คน x 3 ชม.x300 บาท) = 900 บาท 3.  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อความรู้ ( 3 ชุด x  1000 บาท)  =  3000 บาท 4.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (60 คน × 1 มื้อ x 25 บาท)    =  1500 บาท 5.  ค่าอาหารกลางวัน (60 คน x 1มื้อ x 50 บาท)    =     3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 1 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสาร เพื่อประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปลูกผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปลูกผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อนำมาประกอบอาหาร 1. เมล็ดผักต่างๆ= 1,000 บาท 2. ค่าตะกร้าสีดาสำหรับปลูก ( 30 ใบx40 บาท ) = 1,200 บาท 3. ค่าบัวรดน้ำขนาดกลาง( 5 ใบ x100 บาท ) = 500 บาท 4. ค่าดินปลูกต้นไม้( 60 ถุง x35บาท)=2,100

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กสามาารถปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. สามารถนำผักปลอดสารพิษมาปรุงอาหารให้เด็กรับประทานอาหารกลางวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมออกกำลังตอนเช้า -กายบริหาร หน้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กร่างกายแข็งแรง พัฒนาการสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ผักปลอดสารพิษ และสามารถส่งเสริมให้บุตรหลานมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกือลอง มีสุขภาพแข้งแรง พัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ลดอัตราทุพโภชนาการในเด็ก


>