กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค Big C คลองแห ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ชมรมแอโรบิค Big C คลองแห

1.นางดวงธิตา คงคืน ประธาน

2.นางยินดี สมาวรศักดิ์ เลขานุการ

3.นางรุ่งรัศมี กาญจนะ กรรมการ

4.นางวัลภา พิณชูจิต กรรมการ

5.นางสาวนงลักษณ์ สุวรรณปักขิณ กรรมการ

ชุมชนทุ่งทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

23.20
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

12.00
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

22.40
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

28.00
5 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

18.30

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีสุขภาพทางกายและจิตที่ดีและห่างไกลยาเสพติดพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของสมาชิกในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยบริเวณลานจอดรถห้างสรรพสินค้า Big C คลองแห มาอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มแอโรบิค Big C คลองแห และประชาชนใกล้เคียงได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง จึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพแบบยั่งยืน เน้นการสร้างสุขภาพและเล็งเห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบการเต้นแอโรบิก เพื่อสุขภาพ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมองซึ่งในปีงบประมาณ 2565 กลุ่มแอโรบิค Big C คลองแห เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพโดยการเต้นแอโรบิคบริเวณห้างสรรพสินค้า Big C คลองแห และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และมีการเพิ่มกิจกรรมทางกาย พร้อมทั้งสร้างแกนนำในการออกกำลังกายของชุมชน ซึ่งกลุ่มแอโรบิค Big C คลองแห ได้ส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค ซึ่งประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว และพื้นที่ข้างเคียงให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยมีการเต้นทุกวันและได้มีมติร่วมกันให้มีกิจกรรมนี้ต่อไป โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

23.20 30.00
2 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

12.00 15.00
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

22.40 28.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

18.30 15.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

28.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/07/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 ชุดๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2565 ถึง 24 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

  1. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 3 x 4 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 1,440 บาท

  2. ค่าถ่ายเอกสารใบสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ชุดๆละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 100 บาท

  3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3040.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

  1. ค่าแผ่นไวนิลโครงการ ขนาด 2 เมตร x 3 เมตร รวม 6 ตารางเมตรลๆะ 120 บาทจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท

  2. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800บาท

  3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คนๆละ 25 บาท/มื้อ เป็นเงิน 1,000บาท

  4. แบบประเมินสุขภาพ จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน300บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกาที่ถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3820.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

  1. ค่าผู้นำออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงๆละ 300 บาท สัปดาห์ละ 3 วัน ไม่เกิน 4 สัปดาห์/เดือน รวม 2 เดือน 2 สัปดาห์ เป็นเงิน 9,000 บาท

  2. ค่าเครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นเงิน 4,000 บาท

  3. ค่าผ้าเต๊นคลุมเวทีเต้น ขนาด 4 x 6 เมตร รวม 24 ตารางเมตรๆละ 180 บาท เป็นเงิน 4,320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17320.00

กิจกรรมที่ 5 ประกวดนักเต้นตัวอย่าง

ชื่อกิจกรรม
ประกวดนักเต้นตัวอย่าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

  1. ค่าประกาศเกียรติบัตรนักเต้นตัวอย่าง สุขภาพดี ห่างไกลโรค rพร้อมกรอบ จำนวน 5 อันๆละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบบอย่างการออกกำลังกายที่ดี

บุคคลต้นแบบสุขภาพดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 ชุดๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการและส่งมอบกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,430.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ประชาชนในตำบลคลองแหได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2.ประชาชนที่สนใจมีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น

3.ประชาชนที่สนใจและชุมชนใกล้เคียงมีสุขภาพกายจิตดี

4.แรงบันดาลใจในการออกกำลังกายในชุมชน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในตำบลคลองแหได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2.ประชาชนที่สนใจมีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น

3.ประชาชนที่สนใจและชุมชนใกล้เคียงมีสุขภาพกายจิตดี

4.แรงบันดาลใจในการออกกำลังกายในชุมชน


>