กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปฐมวัย ปลอดโรคปลอดภัย อนามัยดี” ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. นางวิไลวรรณอย่างดี080-5465815
2. นางสาวศุพรรัตน์โสสนุย 081-6769328
3. นางรัชนีเวชศักดิ์083-5442405
4. นางสาวอนาทินีเสียมไหม
5.นางสาวศุภรดาธรรมสะโร
6.นางสาววรรณาหยงสตาร์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์ ตำบลนาทอนอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่เด็กปฐมวัย เป็นภารกิจสำคัญที่สำคัญยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักถึงการเจริญเติบโต สุขภาพอนามัย และพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี ประกอบกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไป พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเลี้ยงดูบุตรหลาน เนื่องจากต้องใช้เวลาเพื่อการประกอบอาชีพ จึงต้องนำบุตรหลานไปเข้ารับการเลี้ยงดูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนเนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่เชื้อและติดต่อสู่กันได้ง่ายสถานการณ์การระบาดในประเทศยังคงมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามหลักการควบคุมป้องกันโรค เมื่อมีเด็กเจ็บป่วยเพราะเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำ จึงมีโอกาสป่วยได้โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรคโควิด -19 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น คางทูม อีสุกอีใส และหัด เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ เช่น โรคและความผิดปกติในช่องปากที่มีปัญหาชัดเจนและพบมาในเด็ก คือ โรคฟันผุ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะขาดการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะต้องมีการดูแลจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัย และปลอดโรค ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ดูแลเด็กและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานการดูแลและส่งเสริมสุขภาพให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัย มีความปลอดภัยและปลอดโรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์ จึงจัดทำเรื่องโครงการ“โครงการเด็กปฐมวัย ปลอดโรค ปลอดภัย อนามัยดี”ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์ เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพและ่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยให้แก่เด็กและส่งเสริมให้เด็กและผู้ปกครองได้ตระหนักการดูแลสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง เป็นการลงทุนในการดูแลสุขภาพที่สามารถปันผลให้ได้ตลอดชีวิต ครูและผู้ปกครองชุมชนสามารถสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก โดยร่วมมือกับหน่วยงาน รพ.สต.บ้านวังตง องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์และชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่เด็กปฐมวัย

1.เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน ที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัย

68.00 1.00
2 2.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัย

2.เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

68.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ได้รับความรู้การดูแลส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
  1. ผู้ปกครองเด็กทุกคน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมตามวัย
68.00 1.00
4 เพื่อส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันอย่างถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปากของตนเองได้

เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนได้แปรงฟันอย่างถูกวิธีและเข้าใจในการดูแลเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน

68.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 68
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2565 ถึง 22 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีแผนการดำเนินงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม หนูน้อยรักการอ่าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม หนูน้อยรักการอ่าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-หนังสือนิทานส่งเสริมการเรียนรู้ จำนวน 68 เล่มๆละ 100 บาท 68X100 =6,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กรกฎาคม 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้อ่านหนังสือนิทานทุกวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่่องของการดูแลสุขภาพอนามัยปลอดโรค ปลอดภัย ใส่ใจพัฒนาการ (DSPM)โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านวังตง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่่องของการดูแลสุขภาพอนามัยปลอดโรค ปลอดภัย ใส่ใจพัฒนาการ (DSPM)โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านวังตง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่่องของการดูแลสุขภาพอนามัยปลอดโรค ปลอดภัย ใส่ใจพัฒนาการ (DSPM) โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านวังตง -ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท300x3=900 บาท -ค่าอาหารว่างพร้องเครื่องดื่ม 25 บ.X68 คน=1,700 -แผ่นพับเรื่องสุขภาพอนามัย จำนวน 68 ชุด ชุดละ 5 บาท 68X5=340 บาท -แผ่นพับเรื่องโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย จำนวน 68 ชุด ชุดละ 5 บาท 68X5=340 บาท -ค่าวัสดุเครื่องเขียน/กระดาษโปรเตอร์= 1,000 บาท -ชุดอุปกรณ์สาธิตการตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก -เครื่องวัดอุณภูมิร่างกายดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1,590x1=1,590 บาท -เจลแอลกอฮอล์ขนาด 5 ลิตร จำนวน 1 แกลอน แกลอนละ 319x1=319 บาท -สบู่เหลวล้างมือขนาด 5 ลิตร จำนวน 1 แกลอน แกลอนละ 752X1=752 บาท -น้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ขนาด 5 ลิตร จำนวน 1 แกลอนแกลอนละ 1700X1=1,700 บาท -ผ้าเช็ดมือสำหรับเด็ก จำนวน 68 ผืน ผืนละ 15 บาท 65X15= 1,020 บาท -ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย = 500 บาท -ป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพอนามัย ราคา 1,500 บาท -ชุดเครื่องมือประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัยจำนวน 1 ชุด ชุดละ 4,000 x 1 = 4,000 บาท -ชุดกระเป๋าประเมินพัฒนาการ(DSPM)20 ชุดชุดละ 300 บาท 300X20= 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 21,661 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2565 ถึง 28 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองเด็กได้รับทราบวัตถุประสงค์และได้รับความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21661.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม ให้ความรู้และตรวจสุขภาพ ช่องปากและฟันเด็ก โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ให้ความรู้และตรวจสุขภาพ ช่องปากและฟันเด็ก โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจสุขภาพ ช่องปากและฟันเด็ก
- ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ๆละ 300 บาท300X2= 600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก จำนวน 68 คนๆละ 25 บาท 68X25=1,700 บาท - แปรงสีฟันและยาสีฟันเด็ก จำนวน 68 ชุดๆ ละ 50 บาท 68X50= 3,400 บาท -สมุดภาพระบายสี เรื่อง ฟันและการดูแลรักษา จำนวน 68 ชุด ๆละ 20 บาท 68X20= 1,360 บาท -สีเทียนจัมโบ้ จำนวน 68 กล่อง ๆ ละ 40 บาท 68x40 = 2,720 บาท รวมเป็นเงิน 9,780 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 1 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กทุกคนได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพปากและฟันของตนเอง และเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9780.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,241.00 บาท

หมายเหตุ :
ถั่วเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพอนามัยดีและมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
2.เด็กได้อ่านหนังสือนิทานทุกวันและผู้ปกครองสามารถยืมไปส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านทุกคน
3.ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ความเข้าใจ ร่วมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก


>