กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกพืชสมุนไพรป้องกันโรคความดัน ไขมัน เบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ชุมชนเมืองใหม่ 6 นรินทร์ธร

1.นายประทีป ปรางยิ้ม ประธาน

2.นายสุเทพ สมนาค เลขานุการ

3.นายบันเทิง ชุมปาน กรรมการ

4.นายเสรี สรีแก้ว กรรมการ

5.นางปิยะนุช หวานวงค์ กรรมการ

ชุมชนเมืองใหม่ 6 นรินทร์ธร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

24.50
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

21.40
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

 

38.50

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อยาแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบบทบาทในบ้านเราสรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะใช้รักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลังๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมาก และแทบจะไม่รู้จักเลย ทั้งๆที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ๆตัวเรานี้เอง สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเนื่องจากคนไทยสมัยก่อนมีการพึ่งพาตนเองด้านการรักษาพยาบาลสูง ด้วยเหตุที่สมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขบริการประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนปัจจุบัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นในชุมชนหรือคนในครอบครัวจึงมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น หรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ และปัจจุบันประเทศไทยได้มีการสนใจใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงในบางโรคและมีขีดจำกัดในการรักษา เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งต้องการมีแนวทางการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลของกระแสโรคและสามารถนำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ในการป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธี และจากการทำโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ในชุมชน พบผู้มีภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานรอบเอวเกินร้อยละ 45 และมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่ขาดการรักษาที่ต่อเนื่องจำนวน 5 ราย ทางชุมชนตระหนักถึงปัญหา จึงมีความคิดที่จะส่งเสริมให้ชุมชนโดยนำสมุนไพรที่ปลูกไว้บริเวณรอบๆ บ้าน มาใช้เกิดการดูแลสุขภาพโดยใช้เป็นยารักษาโรคความดันเบาหวานการควบคุมไขมัน โดยใช้ร่วมภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และเกิดภูมิปัญญาพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะดัชนีมวลกายเกิน ในชุมชนต่อไปอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ ครบ3 มื้อ เพิ่มขึ้น

38.50 45.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

21.40 18.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

24.50 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กรกฎาคม 2565 ถึง 25 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก่คนในชุมชน และการดูแลสุขภาพด้วยพืชสมุนไพรใกล้ตัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก่คนในชุมชน และการดูแลสุขภาพด้วยพืชสมุนไพรใกล้ตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรกับการป้องกันโรคโดยมีกิจกรรมดังนี้

1.มีการให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงและ แกนนำในชุมชน ในเรื่องสมุนไพรกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2.จัดทำแปลงสาธิต และสมุนไพรป้องกันโรค ตามหลักภูมิปัญญาพื้นบ้าน

3.ผู้เข้าร่วมโครงการระดมความคิดเห็นการทำกิจกรรมทางกายในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

งบประมาณ

ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมโครงการและคณะทำงาน รวม 40 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,000 บาท

ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมโครงการและคณะทำงาน รวม 40 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

ค่าคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 40 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ค่าเช่าเต๊นท์ เก้าอี้ โต๊ะ เพื่อใช้ในการอบรม เป็นเงินจำนวน 3,660 บาท

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สาธิตทำสวนสมุนไพร

กระถาง จำนวน 1ุ60 กระถาง กระถางละ 80 บาทรวมเป็นเงิน 12,800 บาท

ดินหมักอินทรีย์ จำนวน 160 ถุงๆละ 25 บาทรวมเป็นเงิน 4,000 บาท

ค่าต้นสมุนไพร ใช้สาธิตและมอบให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำไปปลูกในบริเวณบ้าน รวมเป็นเงิน 9,900 บาท

ต้นจิงจู๋ฉาย จำนวน 40 ต้นๆละ 60 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

ต้นพลูคาว จำนวน 40 ต้นๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ต้นกระท่อม จำนวน 40 ต้นๆละ 120 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท

ต้นงานงึก จำนวน 40 ต้นๆละ 80 บาทเป็นเงิน 3,200 บาท

  • ปุ๋ยคอก จำนวน 40 กระสอบ กระสอบละ 80 บาท รวมเป็นเงิน 3,200 บาท

  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สาธิตการทำเมนูสุขภาพ และน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพป้องกันโรค( พื้ชผักสมุนไพรเนื้อสัตว์เครื่องปรุง) 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 สิงหาคม 2565 ถึง 13 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57760.00

กิจกรรมที่ 3 ครัวเรือนต้นแบบด้านการใช้สมุนไรในการป้องกันและรักษาโรคความดันและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ครัวเรือนต้นแบบด้านการใช้สมุนไรในการป้องกันและรักษาโรคความดันและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

คัดเลือกครัวเรื่อนต้นแบบ จำนวน 5 ครัวเรือน มอบเกียรติบัติพร้อมกรอบ ชุดละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2565 ถึง 14 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนตัวอย่าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการ และส่งรายงานสรุปโครงการแก่กองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน )
2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการทานอาหารเพื่อสุขภาพ โภชนาการที่เหมาะสมกับโรคและวัย


>