กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการกินดีมีสุข ทำเมนูอาหารป้องกัน และลดโรคความดัน ไขมัน เบาหวาน และป้องกันโรคโควิด รณรงค์และส่งเสริมการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินดีมีสุข ทำเมนูอาหารป้องกัน และลดโรคความดัน ไขมัน เบาหวาน และป้องกันโรคโควิด รณรงค์และส่งเสริมการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ชุมชนเมืองใหม่ 6 นรินทร์ธร

1.นายประทีป ปรางยิ้ม ประธาน

2.นายสุเทพ สมนาค เลขานุการ

3.นายบันเทิง ชุมปาน กรรมการ

4.นายเสรี สรีแก้ว กรรมการ

5.นางปิยะนุช หวานวงค์ กรรมการ

ชุมชนเมืองใหม่ 6 นรินทร์ธร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

21.40
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

24.50
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

30.00
4 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

3.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

 

38.50
6 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

38.20

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อยาแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบบทบาทในบ้านเราสรรคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอกทิ้งไปในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะใช้รักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลังๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมาก และแทบจะไม่รู้จักเลย ทั้งๆที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ๆตัวเรานี้เอง
สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเนื่องจากคนไทยสมัยก่อนมีการพึ่งพาตนเองด้านการรักษาพยาบาลสูง ด้วยเหตุที่สมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขบริการประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนปัจจุบัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นในชุมชนหรือคนในครอบครัวจึงมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น หรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ และปัจจุบันประเทศไทยได้มีการสนใจใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงในบางโรคและมีขีดจำกัดในการรักษา ทั้งยังสามารถปลูกในครัวเรือนได้เพื่อปรับปรุงทัศนียภาพบริเวณใกล้เคียง และสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคได้ด้วยการรณรงค์มให้กำจัดขยะอย่างถูกวิธี
ในการนี้ชุมชนเมืองใหม่ 6 นรินทร์ธรได้จัดทำโครงการกินดีมีสุข ทำเมนูอาหารป้องกัน และลดโรคความดัน ไขมัน เบาหวาน และป้องกันโรคโควิด รณรงค์และส่งเสริมการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อเพิ่มองค์ความรู้การใช้สมุนไพรท้องถิ่นในการส่งเสริม และรักษาสุขภาพ รวมไปถึงการปรับปรุงทัศนียภาพของบ้านเมืองด้วยพืชสมุนไพร และสามารถลดขยะครัวเรือนที่เป็นปัญหาของชุมชนเมืองอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

21.40 18.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

24.50 20.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ ครบ3 มื้อ เพิ่มขึ้น

38.50 45.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

30.00 70.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

3.00 8.00
6 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

38.20 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านสมุนไพรที่ใช้ในการบริโภคอย่างเหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการด้านสมุนไพรที่ใช้ในการบริโภคอย่างเหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่มเชิงปฎิบัติการ จำนวน 2 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

-ค่าเช่าเต๊นท์ เก้าอี้ โต๊ะ เพื่อใช้ในการอบรม เป็นเงินจำนวน 3,660 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 25 บาทท เป็นเงิน 1,000 บาท

-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 2,000 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตการทำสมุนไพรกินดีมีสุข 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2565 ถึง 6 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการบริโภคอย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19060.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการ และส่งมิบแก่กองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน )

2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการทานอาหารเพื่อสุขภาพ โภชนาการที่เหมาะสมกับโรคและวัย

4.บริเวณรอบบ้านทัศนียภาพดีขึ้น

5.จำนวนขยะต่อครัวเรือนลดลง


>