กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดีตาม สังคมมีความสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

สมาคมพุทธศาสตร์คลองแห

1.นางพรทิพย์ พละสินธุ์ นายกฯ

2.นางศรชนกไชยมิตร อุปนายก

3.นางอัญชลี สังข์น้อย เลขานุการ

4.นางอุดมรัตน์ หมุยจินดา เหรัญญิก

5.นางพนัญญา สาวิชโก เหรัญญิก

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

20.36
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

23.40
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

38.20
4 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

21.30
5 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

80.00

ในสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้ยุคโควิด 2019 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชน ก่อให้เกิดเป็นปัญหาโรคเครียด ซึมเศร้า ท้อแท้ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างจากครอบครัวสู่ชุมชนและสังคมต่อไป ด้วยเหตุนี้สมาคมพุทธศาสตร์คลองแห ได้เล็งเห็นถึงการป้องกัน สร้างสรรค์สังคมให้อยู่ได้กับสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงได้จัดทำ “โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ตามสังคมมีสุข”ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เป็นอยู่ รู้เท่าทัน รู้วิธีแก้ปัญหา พร้อมที่จะตั้งรับกับปัญหา พร้อมที่จะปกป้องคนใกล้ตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติแห่งความเครียดไปได้ โดยการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อีกทั้งได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบันให้มีความสุขต่อไปได้“อยู่กับโลกอย่างที่โลกเป็นให้มีความสุข ไม่อยู่อย่างกำหนดโลก”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

21.30 30.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

80.00 100.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

38.20 30.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

20.36 15.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

23.40 18.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 625 บาท

ค่าวัสดุสำนักงาน ( สมุด ปากกา ) 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2565 ถึง 27 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนงานดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำแบบทดสอบความรู้สมาชิกผู้เข้ารับการอบรม พร้อมทั้งตรวจสุขภาพเบื้องต้น

งบประมาณ

ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบ  และแบบคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น  เป็นเงิน  500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการคัดกรองสุขภาพ

สามารถทราบระดับความรู้ของผู้เข้าอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมอบรมเชิงปฎิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก ครึ่งวัน

1 การรักษาสุขภาพจิตเชิงบูรณาการ แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 สุขภาวะทางปัญญา ป้องกันจิต

กลุ่มที่ 2 การรักษาจิต และการพัฒนาจิต


2 อาหารจิต อาหารกาย โภชนาการสมวัย รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ25 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายโภชนาการสมวัย จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 2,400 บาท

ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายและสาธิตเมนูอาหาร จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท

ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x 4 เมตร จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน720 บาท

ค่าจัดทำเอกสารการอบรม จำนวน 100 ชุด ราคาชุดละ 30บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าถุงผ้าพร้อมสกรีน จำนวน 100 ใบๆละ 100 บาท เป้นเงิน10,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2565 ถึง 28 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และได้รับการประเมินสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21320.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวความครัวเป็นสุข

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวความครัวเป็นสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวครอบครัวเป็นสุข

ทักษะการเผชิญปัญหาและการแก้ไข รู้ทัน ไม่ซึมเศร้า

กิจกรรมทางกาย ขยับกายวันละนิดจิตแจ่มใส

รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 5,000 บาท

ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 3 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติจำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2565 ถึง 6 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการออกกำลังกายพื้นฐานเพื่อลดการยึดติดของข้อเข่า กล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าในกลุ่มผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16700.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฏิบัติการภูมิปัญญาชาวบ้านในการส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการภูมิปัญญาชาวบ้านในการส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสูงวัยใส่ใจสุขภาพโดยมีกิจกรรมดังนี้

1.มีการให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้อายุสูงการดูแลสุขภาพด้านสุนไพรป้องกันโรค

2 สาธิต และสมุนไพรป้องกันโรค ตามหลักภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น ลูกประคบ พิมเสนน้ำ

3.มีการสาธิตและแนะนำเมนูสุขภาพในผู้สูงอายุ เรื่องอาหารกับการป้องกันโรค

งบประมาณ

ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คนๆละ 2ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 2,400บาท

ค่าวัสดุสาธิตการทำเมนูอาหารสุขภาพเป็นเงิน 2,000 บาท

ค่าวัสดุในการทำลูกประคบ หรือพิมเสน เป็นเงิน 4,000บาท( อุปกรณ์บางส่วนผู้เข้าอบรมนำมา )

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน2,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 สิงหาคม 2565 ถึง 9 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ และสามารถใช้สมุนไพรไทย ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2.มีศูนย์สาธิตเรื่องสมุนไพรไทยในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 6 การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 อารมณ์กับสุขภาพ (การฝึกสมาธิ “ตนมองตนด้วยสมาธิเบื้องต้น” )

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 อารมณ์กับสุขภาพ (การฝึกสมาธิ “ตนมองตนด้วยสมาธิเบื้องต้น” )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมในวันพระ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 1คน จำนวน 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท

-ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติจำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

-ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

อาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรมนำปิ่นโตพร้อมทั้งถวายพระ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 15 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทเพิ่มขึ้น สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการสุขถาพจิตดี สังคมมีความสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการสุขถาพจิตดี สังคมมีความสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

-ค่าวิทยากรเข้าร่วมเสวนา 3 คนๆละ 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 เป็นเงิน 2,500 บาท

-ค่าประกาศเกียรติบัตร พร้อมกรอบ จำนวน 15 คนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 22 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการติดตามประเมินผลโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในแต่ละกิจกรรมและนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 8 สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปเอกสารโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปเอกสารโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,145.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

2.ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้

3 ผู้เข้ารับการอบรมมีความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ


>