กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อเเก้ไขปัญหายาเสพติด เเบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติในหมู่บ้าน/ชุมชน สภ.ทุ่งหว้า

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อเเก้ไขปัญหายาเสพติด เเบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติในหมู่บ้าน/ชุมชน สภ.ทุ่งหว้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

สภ.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

1. พ.ต.ท.จรูญ วิเชียรบรรจง
2. พ.ต.ท.มาโนชสุทธิรักษ์
3. ร.ต.ท.อดุลสุขธร
4. ร.ต.ต.บุกก่อรีหมัดหล๊ะ
5. ด.ต.วรชิตมองศิริกุล

บ้านท่าข้ามควาย หมู่ที่6 ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยตามที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดให้ได้อย่างเด็ดขาดและยั่งยืน ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ได้มีมติเห็นชอบกำหนดแนวยุทธศาสตร์และขั้นตอนการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด โดยกำหนดให้ระยะที่ 4 เป็นการดำรงความเข้มแข็งของพลังแผ่นดินในชุมชน โดยมีเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหายาเสพติดในทุกพื้นที่ ทั้งนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อการที่กลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดให้มีภูมิคุ้มกันและสามารถดำรงความเข้มแข็งในการต่อต้านยาเสพติดของพลังแผ่นดิน ซึ่งจะเป็นการป้องกันยาเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน และการดำรงพลังแผ่นดินในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ทั้งในระดับชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ ด้วยการเสริมภูมิต้านทาง สร้างจิตสำนึกและเจตคติของประชาชนให้เข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด สามารถดูแลตนเอง เพื่อนฝูง ครอบครัว และชุมชนให้ห่างไกลยาเสพติดทุกประเภท
สถานีตำรวจภูธรทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ในหมู่บ้าน/ชุมชน อันเป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้หลักการป้องกันนำหน้าการปราบปราม และการมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าใช้ยาเสพติด ให้มีภูมิคุ้มกันในการป้องกันยาเสพติด โดยใช้ปรัชญาของการศึกษาแผนใหม่ที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ตลอดจนจัดให้มีกิจกรรมที่ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก โดยลักษณะของโครงการ เป็นการจัดข้าราชการตำรวจ ในพื้นที่เข้าให้ความรู้ด้านยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนและประชาชนในหมู่บ้านมีทักษะในการหลีกเลี่ยงและปฏิเสธยาเสพติด 3. เพื่อให้ทุกภาคส่วนของตำบลมีจิตสำนึกในการร่วมกันต่อต้านและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่
  1. สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านเป้าหมายได้
  2. ลดอัตราเสี่ยงของเด็กนักเรียนและประชาชนที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
  3. เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความห่างไกลจากยาเสพติด
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2022

กำหนดเสร็จ 02/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อเเก้ไขปัญหายาเสพติด เเบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติในหมู่บ้าน/ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อเเก้ไขปัญหายาเสพติด เเบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติในหมู่บ้าน/ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 –ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทยและในพื้นที่ -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์/ละลายพฤติกรรม -ให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2564

1.2 –การป้องกันยาเสพติดในหมู่บ้าน -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์/ละลายพฤติกรรม -ความรู้เบื้องต้นโทษของยาเสพติด -กิจกรรมสัมพันธ์ภายในหมู่บ้าน 1.3 –ให้ความรู้เกี่ยวกับการจราจรและการเกิดอุบัติเหตุ -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน -ความรู้เกี่ยวกับจิตอาสา 1.4 –หลักการครองตน ครองงาน ตามหลักศาสนา -การใช้หลักศาสนาในการบำบัดยาเสพติด -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน 1.5 –อุทาหรณ์จากการเสพยาเสพติด แนวทางแก้ไข -กิจกรรมสร้างแนวทางป้องกันภัยจากยาเสพติด -แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน 1.6 –การช่วยเหลือชุมชนตามแนวทางสังคมพหุวัฒนธรรม -กิจกรรมต่อต้านยาเสพติดในชุมชน -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน 1.7 –การป้องกันปราบปรามยาเสพติด -การสร้างความสัมพันธ์และกิจกรรมละลายพฤติกรรม -มาตรการยึดทรัพย์ตามกฎหมาย

1.8 –การฝึกช่วยเหลือรักษาความสงบภายในหมู่บ้าน -การฝึกท่าบุคคลมือเปล่า/การตั้งจุดตรวจ -กิจกรรมสัมพันธ์ภายในหมู่บ้าน 1.9 –แนวทางรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน -หน้าที่พลเมือง -กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ -กิจกรรมสัมพันธ์ภายในหมู่บ้าน 1.10    –ทบทวนความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด -ทบทวนแนวทางป้องกันยาเสพติดแบบยั่งยืน -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ -ทบทวนบทบาทตามโครงการชุมชนยั่งยืนและแนวทางการส่งมอบชุมชน


งบประมาณ ค่าอาหารกลางวัน.50..บ.x.30..คน x10 มื้อ = 15,000 บ. ค่าอาหารว่างเช้า..25..บ.x 30 คน x10 มื้อ = 7,500 บ. ค่าอาหารว่างบ่าย..25..บ.x 30 คน x10 มื้อ = 7,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2565 ถึง 2 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านเป้าหมายได้
  2. ลดอัตราเสี่ยงของเด็กนักเรียนและประชาชนที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
  3. เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความห่างไกลจากยาเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านเป้าหมายได้
2. ลดอัตราเสี่ยงของเด็กนักเรียนและประชาชนที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
3. เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความห่างไกลจากยาเสพติด


>