กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการเกิดซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบสำคัญด้านสุขภาพตามกระบวนการ ชราภาพ คือการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุไทยสูญเสียสุขภาวะเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 10.6 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในประชากรไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งด้วย อีกทั้งยังพบว่าผู้สูงอายุทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับที่ 2 และ ทุก ๆ 6 นาทีจะมีผู้คนทั่วโลกผู้เสียชีวิตด้วยโรค หลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 คน
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบมากขึ้น ในคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ ที่มีรายได้น้อยจนถึงประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ในต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า domino effect ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ คือเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งทั่วร่างกาย (atherosclerosis) สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด คือผู้สูงอายุที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้วจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำได้เร็ว และมากกว่าคนวัยอื่น 3 เท่าส่งผลให้อัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงอายุด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลับเป็นซ้ำมีมากกว่า 2 ครั้งต่อปี ซึ่งผู้สูงอายุเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ ได้มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
โรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ (Recurrent stroke) คืออาการผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นมากขึ้นกว่าเดิมตามหลังการเกิด โรคหลอดเลือดสมองเดิม ซึ่งไม่ได้เกิดจากภาวะสมองบวม หรือภาวะเลือดออกในสมองส่วนที่ขาดเลือด (hemorrhagic transformation) หรือการเจ็บป่วยอื่น และจะต้องเป็นห่างจากครั้งแรกนานมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งอาการผิดปกติของ สมองที่เกิดขึ้นใหม่ต้องไม่มีสาเหตุจากผลของการรักษาด้วยยา หรืออื่น ๆ และต้องได้รับการยืนยันผลด้วยการตรวจ computed tomography หรือ CT scan ว่าเกิดความผิดปกติของสมองจริง
ดังนั้นทางศูนย์บริการสาธารณสุขด้านเวชกรรมฟื้นฟูเทศบาลเมืองสะเตงนอก สังกัดกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงสภาวะของโรค รู้จักกำกับดูแลตัวเอง เพื่อลดอัตราการพิการ และการเสียชีวิตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงได้มีการจัดโครงการป้องกันการเกิดซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจำนวน 37 คน x 35 บาท x 2 มื้อ
             x 1 วัน                                  เป็นเงิน 2,590 บาท


2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจำนวน 37 คน x 75บาท
    x 1 มื้อ x 1วัน                                           เป็นเงิน 2,775 บาท
3.ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.5 เมตร x3 เมตร x ตรม.ละ 300 บาทx 1 ผืน      เป็นเงิน 1,350 บาท
4.ค่าทีมวิทยากร
-วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 1 คน
x 3 ชั่วโมง x 500  บาท                                  เป็นเงิน 1,500 บาท
-ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เคยเป็นซ้ำจำนวน 1 คน x 1 ชั่วโมง x 500 บาท 
เป็นเงิน 500 บาท
-วิทยากรแนะนำการออกกำลังกายและทำกิจกรรมจำนวน 1 คน x 2 ชั่วโมง x  500 บาท
  เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  3,000 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (คู่มือการออกกำลังกาย , ค่าแบบแบบประเมินและอื่นๆ)          เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักเห็นความสำคัญในสภาวะของโรค รับรู้ความสามารถตนเอง รู้จักกำกับตนเอง และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจทักษะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ในระดับดีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้        2.1 การลด หวาน มัน เค็ม        2.2 การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ        2.3 การงดบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11715.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,715.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ มีความตระหนักเห็นความสำคัญในสภาวะของโรค รับรู้ความสามารถตนเอง รู้จักกำกับตนเอง และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ที่ถูกต้องและเกิดทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3.ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและคนในครอบครัว
4.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างพฤติกรรมที่ดีในชุมชน


>