กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาด และเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน(โครงการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากในเด็กปฐมวัย)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาด และเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน(โครงการเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากในเด็กปฐมวัย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้
ปัจจุบันปัญหาด้านสาธารณภัย ภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมายได้ทุกพื้นที่ของประเทศ และยังพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรคอุบัติซ้ำมีเพิ่มขึ้น เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ มือเท้าปาก ฯลฯ เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง
ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาด และเหตุภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ตำบลกาลูปัง เพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ทำให้มีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี แต่สามารถเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากกว่าร้อยละ 60 เป็นเด็กก่อนวัยเรียน ต้องถูกฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากเมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันง่ายโรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น ซึ่งกระจายอยู่ในทุกตำบล ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก อาจต้องปิดโรงเรียน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก จึงได้สนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรค มือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักและเฝ้าระวังป้องกันภัยแก่บุตรหลานให้พ้นอันตรายจากการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ในระหว่างเกิดโรคติดเชื้อ มือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัย 2 เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยที่ได้รับผลกระทบจาก โรคมือเท้าปาก 3. เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุม และลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลกาลูปัง

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัย ได้รับการป้องกัน และควบคุมการแพร่เชื้อและเกิดโรคมือเท้าปากในพื้นที่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนฯ
  2. ติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูล
  3. ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชุมเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการป้องกันและควบคุมสถานการณ์ 5.  ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติ 6.  ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง จำนวน 10,000 บาท รายละเอียด ดังนี้
  5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  จำนวน 1 ป้าย                  เป็นเงิน 1,000  บาท
  6. ค่าจัดชื้อวัสดุอุปกรณ์ ในการป้องกันการแพร่เชื้อ เมื่อเกิดโรคมือเท้าปากในเด็กปฐมวัย  ได้แก่ ค่าน้ำยาทำความสะอาด  น้ำยาฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นเงิน 3,500  บาท
  7. ค่าอาหารกลางวัน กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปากแก่ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน คนละ 60 บาท      เป็นเงิน 3,000  บาท
  8. ค่าอาหารว่างและน้ำดื่มกิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 50 คน   คนละ 2 มื้อ  มื้อละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,500   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากโรคมือเท้าปาก ได้รับการช่วยเหลือทันต่อสถานการณ์และทั่วถึง           2. ลดอัตราการสูญเสีย หรือเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนกรณีได้รับผลกระทบจากโรคมือเท้าปากในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากโรคมือเท้าปาก ได้รับการช่วยเหลือทันต่อสถานการณ์และทั่วถึง
2. ลดอัตราการสูญเสีย หรือเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนกรณีได้รับผลกระทบจากโรคมือเท้าปากในพื้นที่


>