แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) การควบคุมโรคไข้เลือดออกและวัณโรค ประจำปี 2565ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (Joint Investigation Team: JIT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึงความสามารถของบุคลากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมทีมกันเพื่อรับผิดชอบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมีความจำเป็นที่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลลำใหม่ ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐานงานระบาดวิทยา ยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่เฝ้าระวัง ค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันทีและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลลำใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในด้านการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ (SAT&JIT) การควบคุมโรคไข้เลือดออกและวัณโรค ผนวกกับยุทธศาสตร์ระดับเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองยะลา การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) การควบคุมโรคไข้เลือดออกและวัณโรค ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อฟื้นฟูความรู้แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลลำใหม่ ตามหลักวิชาการระบาดวิทยาและควบคุมโรค เตรียมความพร้อมแก่ทีม JIT ในการดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ ตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมกันรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งจะต้องได้รับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/06/2022
กำหนดเสร็จ : 30/09/2022
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ทุกองค์กรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมป้องกันโรค สามารถลดอัตราป่วยของโรค ตลอดจนสามารถดำเนินการควบคุมป้องกันโรคด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน