กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

นมแม่ "แน่ที่สุด"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

-

เขตชุมชนหมู่ 3 และ หมู่6 ต.กาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

60.00

ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปครอบครัวที่เคยอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก และญาติ แต่แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน มีความจำเป็นต้องละทิ้งเด็กอ่อนไว้กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำให้เด็กได้รับนมแม่ อย่างเดียวจนอายุ 6 เดือน ลดน้อยลง ซึ่งน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดเพราะมีสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของทารก มีภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งไม่มีในสารอาหารชนิดอื่น และ ที่สำคัญมีการสร้างความรัก ระหว่าง แม่ลูก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัว ก่อเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมของแม่ด้วย อีกทั้งเป็นการช่วยเศรษฐกิจของชาติเนื่องจาก นมแม่มีภูมิคุ้มกันที่ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กแข็งแรง ถึงแม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีประโยชน์เพียงใดแต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่หลายประการ โดยเฉพาะเรื่องปริมาณและคุณภาพของน้ำนม แต่โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณน้ำนมแม่ มีปริมาณพอเพียงกับความต้องการของลูกอยู่แล้วคุณภาพน้ำนมแม่นั้น จะขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการของแม่ กรณีที่แม่พบว่าปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอนั้นควรจะมีการทบทวนประเด็นต่างๆเหล่านี้ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยาหรือวิธีการอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมได้แก่เทคนิคที่ดี ก็คือให้ลูกดูดเร็วดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ภาวะจิตใจของแม่ภาวะโภชนาการของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมลูกระหว่างที่ตั้งครรภ์แม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเพียงพอ สำหรับตนเองและเด็กในครรภ์ตลอดจนสะสมไว้สำหรับสร้างน้ำนมหลังคลอด เพราะหลังคลอดบุตรจะได้มีน้ำนมแม่ให้ลูกดูดอย่างเพียงพอและสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยังมีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 105 คนและมารดาที่บุตรอายุครบหกเดือนมีจำนวน 98 คนพบว่ามีการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างน้อยหกเดือนจำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 53.06 ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างน้อย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยังจึงได้จัดทำโครงนมแม่ แน่ที่สุดขึ้น เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ และตระหนักถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนม มารดา เกิดเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการขับเคลื่อนของมิสนมแม่ชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กแรกเกิดได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 80

1.หญิงหลังคลอดแรกเกิด – 6 เดือน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนผ่านตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข

60.00 60.00
2 2. เพื่อสร้าง และขยายเครือข่ายแกนนำสุขภาพในชุมชนในการดูแลช่วยเหลือส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ ดูแลสุขภาพแม่ และ เด็กอย่างต่อเนื่อง

2.เกิดเครือข่ายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

60.00 60.00
3 3.เพื่อให้มิสนมแม่ชุมชนมีความมั่นใจ และสามารถให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดที่มี ปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร ได้อย่างคลอบคลุม และเหมาะสม
  1. มิสนมแม่ชุมชนสามารถให้คำแนะนำมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง
50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดจากการให้นมแม่ แก่มิสนมแม่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดจากการให้นมแม่ แก่มิสนมแม่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย มิสนมแม่ชุมชน จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 วัน วันละ 25 คน - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ
   2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท                         เป็นเงิน  3,500  บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท        เป็นเงิน  2,500  บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม.ๆ ละ 300 บาท* 2 วัน          เป็นเงิน  3,000  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  ขนาด 2 x 3 เมตร x 4 ผืน    เป็นเงิน   6,000  บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2 x 3 เมตร x 1 ผืน          เป็นเงิน   1,500  บาท                                                                            รวมเป็นเงิน 16,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2022 ถึง 31 กรกฎาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - เพื่อสร้าง และขยายเครือข่ายแกนนำสุขภาพในชุมชนในการดูแลช่วยเหลือส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ ดูแลสุขภาพแม่ และ เด็กอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ -เกิดเครือข่ายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมหลังคลอดโดยมิสนมแม่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมหลังคลอดโดยมิสนมแม่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนมิสนมแม่ชุมชนในการเยี่ยมบ้านหญิงหลังคลอด
    จำนวน 50 คนๆละ 3 ครั้ง ๆละ 100 บาท                  เป็นเงิน   15,000  บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการปั๊มเก็บน้ำนมแม่จำนวน 50 ชุด
    • ถุงเก็บน้ำนมแม่ขนาด 8 ออนซ์ ราคา 115 x 50 กล่อง       เป็นเงิน      5,750  บาท
    • กรวยซิลิโคนปั๊มนมสุญญากาศ  ราคา 120 x 50 ชิ้น             เป็นเงิน    6,000  บาท                                                                                            รวมเป็นเงิน  26,750  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -เพื่อให้เด็กแรกเกิดได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 80 -เพื่อให้มิสนมแม่ชุมชนมีความมั่นใจ  และสามารถให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดที่มี  ปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร ได้อย่างคลอบคลุม และเหมาะสม ผลลัพธ์ -หญิงหลังคลอดแรกเกิด – 6 เดือน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนผ่านตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข -มิสนมแม่ชุมชนสามารถให้คำแนะนำมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกิดเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน โดยชุมชนสามารถดูแลชุมชนได้


>