กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ง่ายนิดเดียวปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

-

ชุมชนหมู่ 3 และ หมู่ 6 ต.กาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม

 

50.00

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของ สตรีไทย โรคมะเร็งที่พบรองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก,โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก จะทำให้อัตราการเกิดโรค,อัตราการป่วยและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งลดลง แม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคได้ก็ตาม แต่กลุ่มสตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 30 ปีขึนไปรพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยังมีจำนวน 1,096 ราย ได้รับการคัดกรอง 315 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.74 ( ข้อมูล HDC มีนาคม2565 ) ที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้ง กลุ่มเป้าหมาย และ แกนนำ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม ขาดทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และยังให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย
ดังนั้น รพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยังจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีการพัฒนาศักยภาพของแกนนำสตรีให้มีความรู้ และมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และถ่ายทอดความรู้ทักษะการตรวจสู่สตรีเป้าหมายในชุมชน ส่งต่อเคสที่เจอความผิดปกติมาตรวจยืนยันโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม การดูแลและเฝ้าระวังจากมะเร็งเต้านมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจภาวะเสี่ยงการก่อเกิดโรคมะเร็งเต้านม
2. ร้อยละ 100 ของแกนนำสตรีที่ได้รับการอบรมพัฒนาทักษะ มีทักษะและวิธีการตรวจเต้านมที่ถูกต้อง
3. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสตรี 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งเต้านม
กลุ่มเป้าหมาย -  แกนนำสตรีหมู่ 3 ต.กาบัง จำนวน 14 คน -  แกนนำสตรีหมู่ 6 ตำบลกาบัง จำนวน 6 คน - ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.53 เมตร                  เป็นเงิน 1,125  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (ป้ายไวนิล) ขนาด 23 เมตร
(ตารางเมตรละ 250 บาท)* 4 ผืน                        เป็นเงิน 6,000  บาท - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน 20คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท        เป็นเงิน 1,400  บาท
    - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆ ละ 50 บาท                เป็นเงิน 1,000  บาท
    - ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม.ๆ ละ 300 บาท* 1 วัน              เป็นเงิน 1,500  บาท     - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม                      เป็นเงิน 8,125  บาท             รวมงบประมาณ 19,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจภาวะเสี่ยงการก่อเกิดโรคมะเร็งเต้านม ผลลัพธ์ -แกนนำสตรีมีความรู้ ความเข้าใจ ภาวะเสี่ยงการก่อเกิดโรคมะเร็งเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19150.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยแกนนำสตรีในชุมชนเพื่อ สอน และคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยแกนนำสตรีในชุมชนเพื่อ สอน และคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยแกนนำสตรีในชุมชนเพื่อ สอน และคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ ติดตามกลุ่มเป้าหมาย
    ผ้าขนหนูขนาด 140*70 จำนวน 100 ผืน x 100 บาท        เป็นเงิน 10,000 บาท     - ค่าตอบแทนแกนนำสตรีในชุมชน ในการช่วยสอนและคัดกรองมะเร็งเต้านม และติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ
    2 หมู่ จำนวน 20 คน/วัน คนละ 100 บาท/วัน * 5 วัน            เป็นเงิน 10,000 บาท
                                                                                                    รวมงบประมาณ  20,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ร้อยละ 100 ของแกนนำสตรีที่ได้รับการอบรมพัฒนาทักษะ มีทักษะและวิธีการตรวจเต้านมที่ถูกต้อง - ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผลลัพธ์ - แกนนำสตรีมีทักษะและวิธีการตรวจเต้านมที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้แม่นยำ - กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้ตัวเอง และคนรอบข้างได้


>