แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2565ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556 – 2560) เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 (จำนวน 3,936,171 คน) เป็น 14,926.47
(จำนวน 5,597,671 คน) และจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุขอัตราการป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558 – 2560) เพิ่มขึ้นจาก 916.89 (จำนวน 540,013 คน) เป็น 1,353.01 (จำนวน 813,485 คน) และนอกจากนี้รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ปีพ.ศ. 2552 และ 2557 พบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 (ชายร้อยละ 21.5 และหญิงร้อยละ 21.3) เป็นร้อยละ 24.7 (ผู้ชายร้อยละ 25.6 และผู้หญิงร้อยละ 23.9)
ส่วนโรคเบาหวานนั้น จากฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ผู้ป่วยสะสม รวม 1,219,161 ราย ความชุก 1,863.39 ต่อประชากรแสนคน ผู้เสียชีวิต 12,074 ราย อัตราตาย 18.45 ต่อประชากรแสนคนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่393,887 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์602.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มคงที่ไม่ลดลง (นพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์)ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง “มีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง”
การรักษาโรคเรื้อรังโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอเพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่พบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน216 รายโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 642 รายกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 529 ราย กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 12 ราย มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในปี พ.ศ.2563 และ ปีพ.ศ.2564 จำนวน 27 ราย , 30 ราย ตามลำดับ และพบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ในปี พ.ศ.2563 และ ปีพ.ศ.2564 จำนวน 14 ราย,11 ราย ตามลำดับ
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง-ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ดูแลตนเอง ลดเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ในการสูญเสียของประชากร
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/06/2022
กำหนดเสร็จ : 30/09/2022
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น