กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองม่วงงาม

เทศบาลเมืองม่วงงาม

ตำบลม่วงงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขถึงฉบับที่ปัจจุบัน มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (๑) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (๙) การจัดการศึกษา (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับปัจจุบัน มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้(๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน (๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่ง ความรู้อื่น ๆ
เทศบาลเมืองม่วงงามดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการดานการปองกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๕ มุงเนนดําเนินการอยางตอเนื่องภายใตแผนปฏิบัติการดานปองกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ ซึ่งเปนแผนชี้นําการขับเคลื่อนการแกไขปญหายาเสพติด และลดระดับปญหาของการแกไขปญหาไดอยางนอยรอยละ ๕๐ ภายใน ๓ ป และลดระดับของปญหาจนไมสงผลกระทบตอการบริหารประเทศภายในปีพ.ศ. ๒๕๘๐ สอดคลองกับยุทธศาสตรชาติ ดานความมั่นคง แผนแมบทภายใตยุทธศาสตรชาติ ประเด็นความมั่นคง และแผนระดับตาง ๆ
แผนงานที่ 3.2.1 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในเด็กและเยาวชน แนวทางการดำเนินงาน
๑. เด็กปฐมวัย อายุ ๒ - 6 ปี กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างทักษะสมองด้วยองค์ความรู้ Executive Functions (EF) โดยประยุกต์ใช้ ในการเรียนการสอนควบคู่กับการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมอารมณ์ การจดจ่อใส่ใจ การยืดหยุ่น/ปรับตัว ฯลฯ เพื่อเป็นการวางรากฐานภูมิคุ้มกันยาเสพติดระยะยาว ผ่านสถานศึกษา/ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และกลไก/หน่วยงานเกี่ยวข้อง


๒. วัยเด็ก อายุ 7 - 12 ปี กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้เพื่อการป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสม ผ่านการเรียนการสอนในหลักสูตร เช่น รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ฯลฯ เพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งการใช้ยาเสพติดและการตก เป็นเหยื่อในการค้ายาเสพติด และส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมทางเลือก ฯลฯ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย ผ่านสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา หรือเทียบเท่า และกลไกหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์
๓. วัยรุ่น อายุ 13 - 1๘ ปี กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้
๓.๑ ให้ความรู้เพื่อการป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสม ผ่านการเรียนการสอนในหลักสูตร เช่น รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ฯลฯ และกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งการใช้ยาเสพติด และการตกเป็นเหยื่อในการค้ายาเสพติด ต่อเนื่องจากช่วงอายุ 7-12 ปีผ่านสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับ มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา หรือเทียบเท่า และกลไก/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์
๓.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดยการสํารวจและค้นหานักเรียนที่มีความเสี่ยง/เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเพื่อการดูแลช่วยเหลือ ที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล ให้สามารถปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม เห็นคุณค่าและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เพื่อไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ทั้งในการใช้และการตกเป็นเหยื่อในการค้ายาเสพติด
๔. เยาวชน อายุ 19 ปีขึ้นไป กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ผ่านการเรียน การสอนในหลักสูตรหรือกิจกรรมนอกหลักสูตรตามความเหมาะสมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมการป้องกันยาเสพติด เพื่อปลูกฝังค่านิยม/ทัศนคติต่อปัญหายาเสพติด การมีจิตสาธารณะ และมีความ รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ทั้งการใช้ยาเสพติดและการตกเป็นเหยื่อ ในการค้ายาเสพติดผ่านสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่ารวมถึงหน่วยงาน/องค์กร/ เครือข่ายที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ตลอดจนผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์
๕. ดำเนินการประเมินและวัดผลการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ตามการเรียนการสอนในหลักสูตรและการส่งเสริม กิจกรรมนอกหลักสูตรในแต่ละกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ทราบผลของการดำเนินงานและเพื่อปรับปรุงหลักสูตร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
๖. พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อการขับเคลื่อนงานในกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพเช่น การพัฒนา ฝึกอบรมและเสริมสร้างองค์ความรู้ การประกาศเกียรติคุณ และให้ความดีความชอบ ฯลฯ
สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ตำบลม่วงงามปัจจุบัน เด็กและเยาวชนในตำบลม่วงงามอาจมีความเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด เกิดจากความตั้งใจและเกิดจากการหลงผิด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆในพื้นที่ที่ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าไปใช้สารเสพติดเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติดให้กับเด็กและเยาวชนเป็นกิจกรรม ที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจในการออกกำลังกายไปตามทักษะกีฬาประเภทต่างๆ เพื่อให้พัฒนาการไปตามวัยและดำเนินกิจกรรมไปตามความสนใจของเด็กและเยาวชน การพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติดเป็นกิจกรรมฯให้กับเด็กและเยาวชนหลีกเลี่ยงยาเสพติด ไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และจะทำให้ตำบลม่วงงามปลอดจากยาเสพติดในอนาคต กองการศึกษา เทศบาลเมืองม่วงงาม จึงจัดโครงการพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามรายละเอียดที่อ้างถึง
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1)ดำเนินการรับสมัครเด็กและเยาวชนในพื้นที่กลุ่มสี่ยงเดือน เมษายน–กันยายนพ.ศ. 2565
โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายดังนี้1.เด็กและเยาวชนที่ต้องการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลจำนวนประมาณ50 คน
2)ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนฯ โครงการฯเดือน เมษายน–กันยายนพ.ศ. 2565
2.1 วิทยากรบรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงโทษภัยยาเสพติดต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชนจำนวน 1 คนจำนวนชั่วโมงอบรมฯ3ชั่วโมง
2.2 วิทยากรบรรยายการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มอภิปราย หรือสัมมนา หรือแบ่งกลุ่มทํากิจกรรมพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลจำนวนชั่วโมงอบรมฯ ประมาณ30ชั่วโมง
3) ดำเนินการสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯเดือน เมษายน–กันยายนพ.ศ. 2565
1. ผู้เข้ารับการอบรม + เจ้าหน้าที่ + วิทยากร ดำเนินการตามมาตรการโควิด – 19 ตามที่ราชการกำหนด เช่น การสวมแมส + การเว้นระยะห่าง+ การฉีดวัคซีนโควิด – 19 + การแสกนร่างกายก่อนเข้ารับการอบรมอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซนเซียส
2. สถานที่ + วันเวลาดำเนินการสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงโทษภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงโทษภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนคุณวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 1 คน                   จำนวน  3  ชั่วโมง ๆ ละ 600.- บาท                                 เป็นเงิน    1,800.- บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายและฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล จำนวน 1 คน จำนวน 30 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาท                                 เป็นเงิน 18,000.- บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2  มื้อต่อวัน มื้อละ 25 บาท เป็นจำนวน 5 วัน จำนวน 60 คน                                                เป็นเงิน 15,000.- บาท 4.ค่าอาหาร  จำนวน  1  มื้อต่อวัน  มื้อละ 50 บาท จำนวน 5 วัน              จำนวน 60 คน                                                       เป็นเงิน  15,000.- บาท
  2. ค่าวัสดุ – อุปกรณ์ ประกอบด้วย    5.1  ตาข่ายกีฬาฟุตซอล จำนวน 1 ชุดๆ ละ 1,500.- บาท
                                                                เป็นเงิน 1,500.- บาท   5.2 ลูกฟุตซอล จำนวน 5 ลูกๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,000.- บาท   5.3 น้ำมันมวย  ขนาด 120 ซีซี จำนวน 1 โหลๆ ละ
                                                                เป็นเงิน 1,080.- บาท
      6. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์(1.20×2.40เมตร×150.-บาท)  เป็นเงิน 432.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55812.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,812.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ป้องกันและลดภาวะเสี่ยงการติดสารเสพติดของเด็กและเยาชนในพื้นที่ตำบลม่วงงาม
2 เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลม่วงงามห่างไกลจากยาเสพติด
3 เด็กและเยาวชน มีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
4 ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับการบำบัด รักษาผู้ป่วยจากสารเสพติด


>