กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนโตนดด้วนรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดขยะ ลดแหล่งนำโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

เทศบาลตำบลโตนดด้วน

หมู่ที่ 1-11 ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เทศบาลตำบลโตนดด้วน ตั้งอยู่เลขที่ 225 หมู่ที่ 2 ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ตำบลโตนดด้วน มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ35.32ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 2,475 ครัวเรือน มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 6,166คน ประชากรแฝง 140 คน รวม 6,306 คน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 ศูนย์ โรงเรียน 4 แห่ง วัด 3 แห่ง ตลาดชุมชน3 แห่ง
สถานการณ์ปัญหาขยะของพื้นที่ตำบลโตนดด้วน เทศบาลตำบลโตนดด้วน ไม่มีรถขยะในการจัดเก็บ จากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 4 - 5ตัน/วัน ซึ่งครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เนื่องจากประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับคัดแยกขยะไม่เพียงพอ ประชาชนมีการคัดแยกในระดับครัวเรือน จำนวน 900 ครัวเรือนยังไม่คัดแยก 1,575 ครัวเรือน ทำให้เกิดปัญหาขยะมีปริมาณมากขึ้นทุกปี และส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จากสถิติการเจ็บป่วย เมื่อปี 2564 มีไข้เลือดออก จำนวน 2 คน ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง 44 คน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เฉลี่ย 125 บาทต่อคน และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดของโรค ปีหนึ่งประมาณ 50,000 บาทต่อปี ในส่วนผลกระทบต่อสังคม ยังมีประชาชนนำขยะมาทิ้งที่ข้างทางถนนซึ่งเป็นสายหลักและสายรอง จำนวน 3 สาย จากปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี 1,575 ครัวเรือน เนื่องจากปริมาณคุณลักษณะขยะมูลฝอยเปลี่ยนแปลงไป ด้วยสาเหตุ ต่างๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร พฤติกรรมการบริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น การจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการ ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม เช่น กลิ่นรบกวน และน้ำเน่าเสียจากอินทรีย์สารในขยะเกิดการเน่าเปื่อยเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เป็นต้น ความสะดวกซื้อสะดวกใช้ ชาวบ้านยังไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด ครัวเรือนจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเองด้วยวิธีการต่างกัน เช่น การฝังกลบ การเผา การกองทิ้งไว้กลางแจ้ง เป็นต้น แต่ละวิธีเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ยั่งยืน มีโอกาสในการก่อมลพิษเกิดขึ้นได้ ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาขยะมูลฝอย คือ การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น ครัวเรือน โรงเรียน สถานประกอบการ ตลาดสด เป็นต้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดปริมาณของขยะและสามารถนำขยะที่ยังมีประโยชน์อยู่กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
เทศบาลตำบลโตนดด้วน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการคนโตนดด้วนรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดขยะ ลดแหล่งพาหะนำโรค โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือปริมาณขยะลดลง โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับชุมชน และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ มีกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนและลดแหล่งที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ปริมาณขยะลดลงและสามารถนำขยะมาใช้ประโยชน์

1.ปริมาณขยะในพื้นที่ตำบลโตนดด้วนลดลงร้อยละ 50 2.มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สร้างความเข้าใจในการจัดการขยะที่ถูกวิธี ลดแหล่งพาหะนำโรค

1.ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %
2.แหล่งขยะหมักหมมลดลง 11 แห่ง

0.00

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด
วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อให้ปริมาณขยะลดลงและสามารถนำขยะมาใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ปริมาณขยะในพื้นที่ตำบลโตนดด้วนลดลงร้อยละ 50
2.มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน
(ใช้งบประมาณ สสส.)ประชุมทุก 2 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างความรู้การจัดการขยะ ศึกษาแหล่งเรียนรู้การจัดการแบบมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสริมสร้างความรู้การจัดการขยะ ศึกษาแหล่งเรียนรู้การจัดการแบบมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ศึกษาดูงานพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม (ใช้งบประมาณ สสส.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2565 ถึง 14 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ ครัวเรือนจัดการยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้การคักแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนครัวเรือน/ครูและนักเรียนในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 ครั้ง จำนวน 400

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การคักแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนครัวเรือน/ครูและนักเรียนในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 ครั้ง จำนวน 400
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตัวแทนครัวเรือน/ครูและนักเรียน รู้วิธีการคัดแยกขยะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม “แยก แลก ไข่” เดือนละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม “แยก แลก ไข่” เดือนละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีแรงจูงใจในการเก็บขยะมาแลกกับไข่

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2565 ถึง 28 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANING DAY

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANING DAY
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANING DAY (ใช้งบประมาณ สสส.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กันยายน 2565 ถึง 8 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันทำความสะอาด 2 ข้างทางถนนสายหลักและสายรองในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานทั้ง ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ (ใช้งบประมาณ สสส.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คณะทำงานจัดการขยะตำบลเข้าร่วม  30 คน ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำท้องถิ่น อสม. และภาคีเครือข่าย
        จำนวน 90 คน  รวมทั้งสิ้น  120 คน
  2. วิทยากรดำเนินการเพื่อสร้างกระบวนการคืนข้อมูลการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลโตนดด้วน
  3. ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบนำเสนอแนวทางการ รูปแบบจัดการขยะครัวเรือน 4.ครัวเรือนต้นแบบ หน่วยงานต้นแบบ นำเสนอ แนวทางการ รูปแบบจัดการขยะชุมชนและหน่วยงาน 5.ผู้นำท้องถิ่น อสม. คณะทำงาน และภาคีเครือข่าย ร่วมประกาศสัญญาประชาคมการจัดการขยะตำบลโตนดด้วน 6.นายกเทศมนตรี ภาคีเครือข่ายร่วมกันรับแผนจัดการขยะตำบลโตนดด้วน จากผู้แทนคณะทำงานตามโครงการ (ใช้งบประมาณ สสส.)
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2566 ถึง 25 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการรับประโยชน์และรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ปริมาณขยะในพื้นที่ตำบลโตนดด้วนลดลงร้อยละ 50
2.มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40
3.ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %
4.แหล่งขยะหมักหมมลดลง 11 แห่ง


>