กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน รหัส กปท. L5255

อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเด็กตำบลจะแหนสุขภาพดี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับการตรวจพัฒนาการ ปี 2565 ”
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ทีมแกนนำกลุ่มเด็กปฐมวัย
กลุ่มคน
นายมะยือละโก๊ะสาโยะ
3.
หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย พบความชุกโลหิตจางกลุ่มเด็กปฐมวัยอายุ 6 เดือน - 5 ปี ร้อยละ 25.9 กลุ่มเด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี ร้อยละ 46.7 อายุ 9-11 ร้อยละ 25.4 อายุ 12-14 ปี ร้อยละ 15.7 และจากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กของเด็กไทยอายุ 6 เดือน - 12 ปีพ.ศ. 2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SEANUTS) เด็กไทยกลุ่มเด็กปฐมวัย (6 เดือน - 3 ปี)พบความชุกโลหิตจางสูง ในเขตชนบทร้อยละ41.7 ในเขตเมืองร้อยละ 26 และจากการสำรวจโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2547-2553 ของสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยพบว่าในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มความชุกโลหิตจางสูงขึ้นพ.ศ. 2553 หญิงตั้งครรภ์มีความชุกโลหิตจางร้อยละ 18.4 และจากการรายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบความชุกโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ  (อายุ 15-45 ปี)ร้อยละ 24.8 แนวโน้มความชุกโลหิตจางในกลุ่มผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยพบความชุกโลหิตจางในกลุ่มผู้สูงอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 34.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 48.4 และกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี ร้อยละ 60.7 ปีตามลำดับ โดยภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของประเทศไทยมีผลกระทบต่อประชาชนไทยทุกกลุ่มวัย(เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ) ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของประชากรไทยต่อไป(สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก,2556 :6)ซึ่งภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่ง ทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวพบว่า จะเห็นได้ว่า พบความชุกโลหิตจางกลุ่มเด็กปฐมวัย ที่มาจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงการเรียนรู้ ภูมิต้านทานโรคสมรรถภาพในการทำกิจกรรมต่างๆหากขาดเหล็กจะมีผลเสียต่อพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างยิ่ง ทีมแกนนำกลุ่มเด็กปฐมวัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและจัดโครงการเด็กตำบลจะแหนสุขภาพดี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง และได้รับการตรวจพัฒนาการ ปี 2565 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวและหากพบภาวะโลหิตจางและพัฒนาการล่าช้า ได้รับการติดตามและรักษาอย่างทันถ่วงที และเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ดำเนินตรวตคัดกรอง
    รายละเอียด
    1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ ของตัวชี้วัดคัดกรองพัฒนาการและคัดกรองโลหิตจาง
    2. จัดทำใบนัดเชิญกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมาตามวัน เวลา และสถานที่ตามในนัด โดยให้ อสม.เป็นผู้ประสานกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
    3. ลงทะเบียน และดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
      4.  ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินการแก่ผู้ปกครอง พร้อมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล
    4. ดำเนินการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาค่าฮีโมโกลบิน และดำเนินการตรวจพัฒนาการตามคู่มือ DSPM
    5. แจ้งผลวิเคราะห์ภาวะโลหิตจางและผลการตรวจพัฒนาการ แก่ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการหากพบเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโลหิตจางหรือพัฒนาการล่าช้า จะแจ้งผลแก่ผู้ปกครองเพื่อติดตามการดูแลรักษาต่อไปตามแนวทางต่อไป
    6. นัดกลุ่มเป้าหมายซ้ำ อีก 1 เดือน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่พบภาวะโลหิตจางและพัฒนาการล่าช้า
    7. ทีมแกนนำกลุ่มเด็กปฐมวัยแบ่งทีมในการลงติดตาม เป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ในการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีพบภาวะโลหิตจางและพัฒนาการล่าช้า

    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน มื้อละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าวิทยากรให้ความรู้และคัดกรอง 600 บาท * 7 ครั้ง พร้อมทำหัตถการ เป็นเงิน 4,200 บาท - เครื่องประเมินพัฒนาการ 4,000 จำนวน 2 ชุด                                        เป็นเงิน 8,000 บาท - ค่าวัสดุ (กระเป๋าพร้อมสกรีน) และของเล่นเสริมพัฒนาการ จำนวน 60 ชุด * 100 บาท เป็นเงิน 6,000  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 เมตร *2 เมตร เป็นเงิน    300 บาท

    งบประมาณ 20,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลจะแหน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 20,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กอายุ6 เดือน – 5 ปี ได้รับการคัดกรองโลหิตจาง และคัดกรองพัฒนาการ
  2. เด็กอายุ6 เดือน – 5 ปี ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะโลหิตจาง ได้รับการรักษาติดตาม ส่งต่อ
  3. เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน รหัส กปท. L5255

อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน รหัส กปท. L5255

อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 20,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................