กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ในยุคโควิด 19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โครงการปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ในยุคโควิด 19

ศสมช.หมุ่ที่ 5 บ้านสะเตียร์ ประกอบด้วย
1.นางมุรณีสาและ
2. นางเจ๊ะไซนะวาแซะ
3. นางสาวยูลีซาสะอุ
4. นางนิมารีย๊ะอาเซ็ง
5. นางนูรีหันสาและ

ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัจจุบันปัญหาโรคโควิด 19 ได้รับการแก้ไขด้วยมาตรการภาครัฐและความร่วมมือ
ของประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอ หน่วยงานภาครัฐอื่นและเอกชนสนับสนุนในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโดยการลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน แจ้งข่าวสาร ให้ความรู้ คัดกรอง ตามรูปแบบวิถีปกติใหม่ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองลดลง ดังนั้นเพื่อเป็นส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองตามระยะการผ่อนคลายตามมาตรการของทางราชการ รวมถึงเกิดพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ในยุคโควิด 19เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบูกิต..

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19

ประชาชนในหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในระดับหมู่บ้าน

0.00
2 2. เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะประชาชนในด้านสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่ ร้อยละ 60

0.00
3 3. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการทำงานของ ประชาชน ในพื้นที่ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19

เกิดกระบวนการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ อสม. ในพื้นที่ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ในหมู่บ้าน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเสริมสร้างให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเสริมสร้างให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมเสริมสร้างให้ความรู้ ๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน X ๒๕ บาท X ๒ มื้อ ๑ วัน เป็นเงิน 2,000บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน X ๖๐ บาทX ๑ มื้อ เป็นเงิน 2,400บาท ๓.ค่าวิทยากร ๖๐๐ บาท x ๖ ชม
เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท 4.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 750บาท วัสดุสำนักงาน ๑.ปากกาจำนวน 40 ด้าม X5บาท เป็นเงิน 200 บาท ๒.สมุด จำนวน 40 เล่ม X 10 บาทเป็นเงิน 400 บาท 3.ค่ากระเป่าเอกสาร 40 ใบ X 60 บาท เป็นเงิน 2,400บาท รวม 3,000 บาท รวม 11,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11750.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน X ๒๕ บาท X 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 1,000บาท

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน X ๒๕ บาท X 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 1,000บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน X ๒๕ บาท X 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ90 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ แบบวิถีชีวิตใหม่ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1 ประชาชนในหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในระดับหมู่บ้าน 2 แกนนำในชุมชนมีความรู้และพัฒนาทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้ 3 เกิดกระบวนการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ อสม. ในพื้นที่ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,750.00 บาท

หมายเหตุ :
กิจกรรมการดำเนินงาน
1.ประชุมทีมงานการดำเนินงานตามโครงการ
2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้คนในชุมชนทราบ
3. จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก พัฒนาทักษะในการป้องกันดูแลสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่
4. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
5.จัดส่งรายงานผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนในหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในระดับหมู่บ้าน
2 แกนนำในชุมชนมีความรู้และพัฒนาทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้
3 เกิดกระบวนการสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของ อสม. ในพื้นที่ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด 19 ในหมู่บ้าน


>