กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ

นางสาวสูกายนาห์ดูละสะ

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ2. พื้นที่ ม.1,3,4,5,9,10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละพบว่าปี 2562 ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 118 คน เจาะเลือดประจำปี จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 88.14 ควบคุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 29.66ปี 2563 ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 133 คน เจาะเลือดประจำปี จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 74.44 ควบคุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 21.05ปี 2564 ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 144 คน เจาะเลือดประจำปี จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 86.11 ควบคุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 30.56 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2565ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองร้อยละ 100 (เก็บข้อมูลจากการทำแบบทดสอบรายบุคคลก่อน –หลังการให้ความรู้ )
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมโดยแยกเป็น กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มปกติ
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า อันจะทำให้เกิดความพิการซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 253
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าไวนิลจำนวน 4 ผืน ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x 250 บาท จำนวน 4 รายการ เป็นเงิน 2,880.-บาท 1.1.ไวนิล โครงการ 1.2. ไวนิลเรื่องอาหารที่ควรบริโภคในผู้ป่วยเบาหวาน 1.3.ไวนิลเรื่องการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน 1.4 ไวนิลเรื่องการปฎิบัติตัวในผู้ป่วยเบาหวาน
  2. ค่าสื่อแผ่นพับโรคเบาหวานกับการควบคุมอาหาร  จำนวน  95 แผ่น(รายละเอียดแนบท้ายสื่อแผ่นพับ) 2.1  ค่าสื่อแผ่นพับจำนวน 95  แผ่นๆละ 20 บาท  เป็นเงิน 1,900 บาท
  3. เฝ้าระวังเบาหวานโดยการเจาะเลือดชุดใหญ่ประจำปี จำนวน 158 คน (ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด)         3.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 158 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ  เป็นเงิน  3,950 บาท
  4. กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน จำนวน 95 คน (เอกสารแนบท้ายกำหนดการการจัดกิจกรรมให้ความรู้)         4.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 95 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ  เป็นเงิน  4,750 บาท         4.2 ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 95 คนๆละ 60 บาท 1 มื้อ  เป็นเงิน  5,700 บาท         4.3 ค่าสมนาคุณวิทยากร ๓ ชม.ๆ 300 บาท 2 วัน เป็นเงิน  1,800 บาท
  5. เยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยเบาหวานที่ hba1c มากกว่า 7  จำนวน 95 คน  (9 วันๆละ 10 คน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  20,980.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองร้อยละ 100(เก็บข้อมูลจากการทำแบบทดสอบรายบุคคลก่อน –หลังการให้ ความรู้ )
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
3 สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20980.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,980.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองร้อยละ 100(เก็บข้อมูลจากการทำแบบทดสอบรายบุคคลก่อน –หลังการให้ ความรู้)
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
3 สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม


>