กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

หมู่ที่ 4 8 และ 13 ตำบลโคกสัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข
ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ปี 2562 – ปี ๒๕๖4 จำนวน 65 78 และ 86 คนตามลำดับและจากผลการตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA๑C ผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ( รายงาน NCD ๒๑ แฟ้ม ) เปรียบเทียบระหว่างปี ๒๕62 ถึง ๒๕๖4 พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ปี ๒๕๖4 ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมี จำนวน ๓3 คน คิดเป็น 41.25และจากการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ไต ตา เท้า ปี ๒๕๖4 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนพบว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตจำนวน ๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๔ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางตา จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๘ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๗ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ไม่ควบคุมอาหาร มีความเครียด ดังนั้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่อง3อ.2ส.1ฟ.

1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.ประเมินผลจากแบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 40

0.00
4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ การออกกำลังกาย

ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะเครียดและซึมเศร้าในชุมชน

0.00
5 เพื่อประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ดูแล 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2022

กำหนดเสร็จ 15/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1  วันที่ 26 กรกฏาคม 2565
-  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ   จำนวน  4๐  คน และผู้ดำเนินการ  จำนวน 4 คน      รวม 44 คน  จำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๖๐ บาท
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน และผู้ดำเนินการ จำนวน 4 คน  รวม 44 คน  จำนวน 2 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท
  รุ่นที่ 2 วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
-  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ   จำนวน  4๐  คน และผู้ดำเนินการ  จำนวน 4 คน      รวม 44 คน  จำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๖๐ บาท
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน และผู้ดำเนินการ จำนวน 4 คน  รวม 44 คน  จำนวน 2 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท
-ค่าเอกสารโครงการ - ค่าจ้างจัดทำคู่มือ จำนวน 80 เล่มๆละ 50 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ -แฟ้มกระเป๋ากระดุม 1 เม็ด A4  แฟ้มละ 20 บาท  จำนวน  80 แฟ้ม
-ปากกาลูกลื่น ด้ามละ 5 บาท จำนวน 80 ด้าม
- กระดาษถ่ายเอกสารA4 ขนาด 80 แกรม  ราคา 120 บาท  จำนวน 5 รีม

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2565 ถึง 27 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน และผู้ดำเนินการจำนวน 4 คน  รวม 44 คน  จำนวน 1 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 3 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1780.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,780.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรม/ทุกรายการ สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
2. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม
3. อัตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลง ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์
4. ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายร้อยละ 90
5. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ100


>