กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล ตัวอย่าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตัวอย่าง_ โครงการชะลอไต ชะลอตาย ตำบล....

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล ตัวอย่าง

โรงพยาบาล........../กองสาธารณสุข อปท......../กลุ่ม ประชาชน

ตำบล..........อำเภอ..................จังหวัด.................

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

46.00

สถานการณ์ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับข้อมูลภาระโรคของประชาชน ที่มีการตายหรือภาวะจากการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ นำมาสู่ภาวะการไตวายและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาลตามมาด้วย

คนไทยบริโภคโซเดียมเกือบ 4,000 มก.ต่อวัน สูงกว่า WHO กำหนดไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา หรือ 2,000 มก.ต่อวัน ถึง 2 เท่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

แผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทยปี 2559-2568 จึงกำหนดเป้าหมายให้ประชาชนลดเกลือและโซเดียมลง 30% ภายในปี 2568 พร้อมกับผลักดันนโยบายภาษีความเค็ม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลเสียสุขภาพประชาชน

ข้อมูลองค์การอนามัยโลก WHO ระบุว่าผลการสำรวจที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ เด็กไทยบริโภคเกลือมากเกินความจำเป็น เฉลี่ยมากถึง 3,194 มก.ต่อวัน ซึ่งเป็นระดับการบริโภคที่สูงเกินกว่าเกณฑ์แนะนำสำหรับกลุ่มเด็ก การบริโภคโซเดียมมากเกินไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง นำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบตัน และไตวาย รวมทั้งโรคเรื้อรังชนิดอื่นๆ นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรตามมา

ทั้งนี้จากการสำรวจปริมาณการบริโภคโซเดียมในประชากรทั่วประเทศ โดย ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยการตรวจวัดโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชม. จากกลุ่มตัวอย่าง 2,388 คน อายุเฉลี่ย 43 ปี ใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นเพศหญิงร้อยละ 53 พบว่า คนไทย บริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,632 มก.ต่อวัน หรือ 1.8 ช้อนชา โดยบริโภคเฉลี่ยเยอะที่สุดในภาคใต้ 4,108 มก.ต่อวัน รองลงมา คือ ภาคกลาง 3,760 มก.ต่อวัน ภาคเหนือ 3,563 มก.ต่อวัน กรุงเทพมหานคร 3,496 มก.ต่อวัน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,316 มก.ต่อวัน

กลุ่มบริโภคเกลือมาก คือ คนอายุน้อย (เริ่มสำรวจตั้งแต่อายุ 18 ปี) บริโภคเกลือมาก ส่วนคนอายุมาก ทานน้อยลง และ กลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลับกินเค็มมากกว่าคนปกติ ขณะที่ คนที่น้ำหนักเกิน อ้วน กินเกลือมากกว่าคนน้ำหนักปกติเช่นกัน โดยแหล่งของเกลือที่คนไทยได้รับ มากจากการกินอาหารนอกบ้าน 80%

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

25.00 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

46.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 12
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนเน้น เบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนเน้น เบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พยาบาลคลินิกโรคเรื้อรัง หรือ CKD clinic คัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลและความดัน หรือมีค่าไตระดับ 3 -4

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลและความดัน หรือมีค่าไตระดับ 3 -4

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพการบริโภคที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพการบริโภคที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมทีมีค่า CKD ระดับ 3 ร่วมกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วย
1.เข้าใจโรคไต และภัยจากเบาหวานความดัน
2.การกินผักและลดเค็ม
3.การกินยาชุด แก้ปวด
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท (ปรับได้ตามสภาพเศรษฐิกจของพื้ันที่) x จำนวน.............คน เป็นเงิน ................บาท
2. ค่าอาหารว่าง25 บาท (ปรับได้ตามสภาพเศรษฐกิจ) จำนวน.............คน เป็นเงิน ................บาท
3. ค่าวิทยากร จำนวนเงิน 600 บาท/ชม. X .....ชม. เป็นเงิน.............บาท
4. ค่าอุปกรณ์ประกอบการให้ความรู้เข้าใจเรื่อง อาหารการกินที่เสี่ยงต่อการเป็นไต จำนวนเงิน.............บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กรกฎาคม 2565 ถึง 9 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาพฤติกรรมหวาน เค็ม พอตัว และสร้างเมนู ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่ไต

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาพฤติกรรมหวาน เค็ม พอตัว และสร้างเมนู ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่ไต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การร่วมือกับนักโภชนาการเพื่อปรับปรุงให้ ประชาชนกลุ่มเบาหวานและความดันโลหิตสูง นักเรียนในโรงเรียน มัสดยิด หรือวัด
1.การทำน้ำสต๊อกเพื่อแทนการใช้ผงชูรส และเครื่องปรุง
2.แนะนำและออกแบบเมนูอาหารสำหรับโรงเรียน เพื่อชะลอไต
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน.......คน X 600 บาท/ชม./คน เป็นเงิน...............บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท (ปรับได้ตามสภาพเศรษฐิกจของพื้ันที่) x จำนวน.............คน เป็นเงิน ................บาท
3. ค่าอาหารว่าง25 บาท (ปรับได้ตามสภาพเศรษฐกิจ) จำนวน.............คน เป็นเงิน ................บาท
4. ค่าอุปกรณ์ประกอบการให้ความรู้เข้าใจเรื่อง การทำน้ำสต๊อก และออกแบบมนูชะลอไต จำนวนเงิน.............บาท
5. ค่าเครืองวัดความเค็ม จำนวน 10 เครื่องX 1700 บาท เป็นเงิน 17,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2565 ถึง 29 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเมนูอาหารชะลอไต
  2. แม่ครัวและผู้ปรุงอาหารของ ศพด.และโรงเรียน สามารถออกแบบเมนูอาหารชะลอไต
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>