กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

โครงการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ปี 2565

1. นางจิตร์ สวนชาวไร่เงิน อสม.หมู่2
2. นางสาวเรไร ธนูอินทร์ อสม.หมู่2
3. นางวลีรัตน์ ธนูอินทร์ อสม.หมู่2 ต.แม่หวาด
4. นางปราณี ผดาวัลย์ อสม.หมู่10
5. นางดวงเดือน รอดป่อง อสม.หมู่10

รพ.สต.บ้านวังไทร ตำบลแม่หวาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยประชากรส่วนใหญ่ใน พื้นที่หมู่ที่ 2 และ หมูที่ 10 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโตประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ซึ่งระกอบด้วยพื้นที่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา มีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช กระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังคงใช้ในระดับที่สูงอยู่ โดยเฉพาะยาปราบศัตรูพืชกลุ่มออแกนโนฟอสเฟสและกลุ่มคาร์บาเมท จากข้อมูลสอบถามร้านจำหน่ายยาปราบศัตรูพืชดังกล่าวในตำบลแม่หวาดมียอดจำหน่ายสูงกว่าชนิดอื่น แสดงว่าเกษตรกรใน ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม กลุ่ม ชมรมอสม.บ้านวังไทร เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในหมู่ที่ 2 และ หมูที่ 10 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการตรวจหารสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในหมูที่ 2และ หมู่ที่ 10 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดโดยการวัดค่าเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสว่าอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ จำนวน 50 คน

 

0.00
2 2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเกษตรกร

 

0.00
3 3 เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องและลดความเสี่ยงลงได้ร้อยละ 50 ของเกษตรกรที่ตรวจพบความเสี่ยง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน  3 ชุดชุดละ 380 บาท เป็นเงิน 1,140 บาท - Blood lancets 2 กล่องกล่องละ 190 บาท เป็นเงิน 380 บาท - capillary tube 3 กล่องกล่องละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท -สมุดบันทึกสุขภาพเกษตรกรจำนวน 50 เล่มเล่มละ 10 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2470.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรและผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตรและผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ป้ายประชาสัมพันธ์ตามโครงการจำนวน 1 ป้ายป้ายละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน1 มื้อมื้อละ 75 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน2 มื้อมื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมจำนวน 50 ชุดชุดละ 23 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,870.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่ 2และหมู่ที่ 10
2.เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร
3.เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง


>