กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปฐมวัย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพฟัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีปัญหาฟันผุ

 

100.00

ฟันน้ำนมในเด็กเล็กมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ซึ่งหากเด็กฟันผุจะส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารของเด็ก ซึ่งส่งผลกับสุขภาพและพัฒนาการเด็กโดยตรง จะเห็นได้จากงานวิจัยของพนิตเทพ ทัพพะรังสี และคณะ รายงานว่าเด็กที่มีฟันผุน้อยมีพัฒนาการสมวัยมากกกว่าเด็กที่มีฟันผุมากกว่า เพราะโรคฟันผุที่ลุกลามจะทำให้เด็กมีอาการปวด นอนอมไม่หลับ เคี้ยวอาหารยาก ส่งผลต่อโภชนาการของเด็กในระยะยาว และประการที่สอง ฟันกรามน้ำนมมีหน้าที่เก็บที่ไว้ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทน ในผู้ใหญ่เราทราบดีว่า เวลาฟันผุจนต้องถูกถอนฟันไปแล้วนั้น ฟันที่อยู่ข้างๆช่องที่ถูกถอน ก็จะล้มเอียงเข้ามา ในฟันน้ำนมก็เช่นกัน นอกจากฟันข้างๆจะล้มเอียงแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ ฟันทีล้มก็จะล้มมาหรือเลื่อนมาจนไม่เหลือที่ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาตรงช่องนั้นขึ้นมาได้ ทำให้ฟันแท้บิดเกซ้อนไปมา ต้องรับการแก้ไขอย่างอื่น ๆ ต่ออีก

จากรายงานของโรงพยาบาลสุขภาพตำบล ในโครงการแก้ไขปัญหาเด็กมะนังยง Smart Kids ได้รายงานผลการตรวจพัฒนาการและสุขภาพเด็กปฐมวัยในตำบลมะนังยง พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 83.26 ซึ่งข้อมูลประจำปีการศึกษา 2563 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงทั้งสองแห่งมีจำนวนเด็กฟันผุถึงขนาดร้อยละ 100 ซึ่งสาเหตุฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาและคนในครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง

ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง จึงเห็นควรจัดบริการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากให้กับเด็กเล็กและผู้ปกครอง รวมถึงการบริการทางทันตกรรมให้กับเด็กเล็ก พร้อมทั้งประเมินติดตามผลเพื่อให้เด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยและมีฟันที่ดีในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กอย่างถูกวิธี

เด็กนักเรียน ศพด. มีความรู้และความสามารถในการดูแลช่องปากของเด็กเล็กอย่างถูกวิธีหลังเข้ารับการอบรมมากขึ้นร้อยละ 80
จำนวนเด็ก ศพด. สังกัด อบต.มะนังยง จำนวน 80 คน

0.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์

เด็กเล็กได้รับการตรวจคัดกรองและเคลือบฟลูออไรด์ร้อยละ 100 จำนวนเด็ก ศพด. สังกัด อบต.มะนังยง จำนวน 80 คน

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/07/2022

กำหนดเสร็จ 19/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็กที่มีฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็กที่มีฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คุณครูตรวจฟันเด็กเล็กว่ามีเด็กที่มีฟันผุกี่คนและซี่ใดบ้าง

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กรกฎาคม 2565 ถึง 26 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลักษณะฟันผุของเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลฟัน เช่น อาหารต้องห้าม อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ที่ช่วยดูแลฟัน การเลือกแปรงและยาสีฟัน ฯลฯ
2. สอนการแปรงฟันให้ถูกวิธีโดยใช้กิจกรรมผู้ปกครองร่วมกันสอนแปรงฟันเด็กและประเมินผลเป็นรายบุคคล
3. ตรวจฟันให้คำปรึกษา
4. เคลือบฟลูออไรด์เด็กเล็ก

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่าง 72 คน 35 บาทต่อคน 2 มื้อต่อวัน เป็นเงิน 5,040 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล 1 ผืน ขนาด 1.2 x 3 เมตร เป็นเงิน 900 บาท
3. ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
4. แปรงสีฟันเด็ก 72 คน x ราคา 35 บาท เป็นเงิน 2,520 บาท
5. ยาสีฟันเด็ก 72 คน x ราคา 25 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
6. ค่าวัสดุสำหรับเคลือบฟลูออไรด์ 1,000 บาท จำนวน 2 หลอด เป็นเงิน 2,000 บาท 7. ค่าอาหารกลางวัน 72 คน 50 บาทต่อคน เป็นเงิน 3,600 บาท 8. วัสดุในการอบรม เช่น โมเดลฟัน แฟ่ม ปากกา คลิป ฯลฯ 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2565 ถึง 29 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23460.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทบทวน ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทบทวน ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมทบทวนวิธีการดูแลช่องปากเด็กเล็ก
  2. กิจกรรมติดตามและประเมินผลสุขภาพฟันเด็ก
  3. กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์ให้เด็กเล็ก ค่าใช้จ่าย
  4. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท 2 ชั่วโมง จำนวน 2 คน (ศพด.ละ 1 คน) เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2565 ถึง 20 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพปากและเคลือบฟลูออไรด์ร้อยละ 100
  2. เด็กเล็กมีฟันผุเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 1
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละของเด็กเล็กที่มีฟันผุรายใหม่ลดลง
2. ร้อยละของเด็กเล็กที่มีฟันผุรายเดิมไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้น
3. ผู้ปกครองและเด็กเล็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น
4. ครูพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อสอนเด็กเล็กในการดูแลฟัน


>