กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ อบต.บันนังสตา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรจะได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการเพื่อเด็กปฐมวัยได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมกับวัย ซึ่งจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สติปัญญาดี อาหารกลางวันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับประทานทุกคน และได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง ๕ หมู่ เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มาพัฒนาประเทศชาติ ต่อไป
กองการศึกษาฯ อบต.บันนังสตาจึงได้ดำเนินโครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 6 ศูนย์ ซึ่งได้เชิญผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเข้าร่วมโครงการ เพื่อปลูกฝังให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยได้น้อมนำปรัชญาทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ

ร้อยละ ๗๐ เด็กปฐมวัยได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

0.00 90.00
2 เพื่อให้ครูและเด็กมีทักษะการปลูกพืชผักสวนครัว

ร้อยละ ๗๐ ครูและเด็กปฐมวัยมีทักษะการปลูกพืชผักสวนครัว

90.00
3 เพื่อให้ครูและเด็กได้น้อมนำหลักปรัญญาเศษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ร้อยละ ๗๐ ครูและเด็กปฐมวัยได้นำหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงมามาใช้ในชีวิตประจำวัน

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 383
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 09/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เมล็ดผักบุ้งจำนวน 18 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 270 บาท
  2. เมล็ดแตงกวา จำนวน 30 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 450 บาท
  3. เมล็ดบวบ จำนวน 30 ซองๆละ 15 เป็นเงิน 450 บาท
  4. เมล็ดถั่วผักยาว จำนวน 18 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 270 บาท
  5. เมล็ดมะเขือเทศ จำนวน 18 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 270 บาท
  6. เมล็ดผักชี จำนวน 18 ซองๆละ 15 บาท เป็นเงิน 270 บาท
  7. กะละมัง จำนวน 120 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
  8. ตาข่ายกรองแสง ขนาด 2x100 เมตร สีดำ 1 ม้วน เป็นเงิน 2,000 บาท
  9. ดินปลูกผัก ถุงละ 25 บาท จำนวน 480 ถุง เป็นเงิน 12,000 บาท
  10. กากมะพร้าว 4x50x6 เป็นเงิน 1,200 บาท 11 ปุ๋ยอินทรีย์ 18 ถุงๆละ 350 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท 12.บัวรดน้ำ 12 อันๆละ 150 เป็นเงิน 1,800 บาท 13 จอบ 12 อันๆละ 350 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท 14 เสียม 12 อันๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 15 ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 6 ป้าย
    ป้ายละ 800 เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 9 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพดีจากการกินผักปลอดสารพิษและโภชนาการที่ดีขึ้น
2. ครู ผู้ปกครองนักเรียน และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญในการปลูกผักปลอดสารพิษ
3. ครูผู้ปกครองนักเรียน และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รู้ถึงวิธีการปลูกผักสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปลูกผักที่บ้านตนเองได้


>