กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กเล็กอิ่มท้อง สมองใส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ

หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ

ตำบลบือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคนให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ปัญหาสุขภาพของประชาชนระดับชาติที่เกิดจากการละเลยด้านโภชนาการของคนทั่วโลกรวมถึงคนไทย กลายเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้กับการบริการด้านสาธารณสุขเพื่อดูแลสุขภาพของคนไทย แทนที่จะใช้ไปเพื่อพัฒนาประเทศด้านอื่นๆโภชนาการจึงเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของโรงเรียน คือ เด็กบางส่วนไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญในการพัฒนาสมองหากไม่ได้รับประทานอาหารเช้าจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เด็กวัยเรียนจะขาดสมาธิง่ายส่งผลต่อสติปัญญาการเรียนรู้ เพราะอาหารเช้าจะช่วยเติมพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ส่วนอีกปัญหาหนึ่งของเด็ก ก็คือภาวะทุพโภชนาการ (เด็กอ้วน เด็กผอม) ปัญหาดังกล่าวหากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สมองของเขาก็เติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้ คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประกอบกับช่วงวัยเรียนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีความต้องการอาหารครบ5หมู่ ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบานพร้อมเปิดการเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ
ดังนั้น อาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนมจากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย ขาดสารอาหารสำคัญมื้อแรก
จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ จึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพทางด้านร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดี
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ จึงจัดทำโครงการเด็กเล็กอิ่มท้อง สมองใส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ ขึ้น โดยมีความมุ่งหวังเพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการและครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโต มีพัฒนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ และมีพัฒนาการสมวัย

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมองเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้า

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 57
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนในการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนในการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนในการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนในการดำเนินกิจกรรมและแบ่งหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน จำนวน 100 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน จำนวน 100 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

8.2ค่าอาหารเช้าสำหรับเด็กนักเรียน จำนวน 57 คนๆละ 10.- บาท จำนวน 100 วัน

เป็นเงิน57,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของนักเรียน เรื่อง “หลักโภชนาการในเด็กปฐมวัย” และ “อาหารมื้อเช้า สำคัญ สมองใส”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของนักเรียน เรื่อง “หลักโภชนาการในเด็กปฐมวัย” และ “อาหารมื้อเช้า สำคัญ สมองใส”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900.- บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คนๆละ2 มื้อๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คนๆละ 50. บาท

    เป็นเงิน 3,000.- บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600.- บาท

    เป็นเงิน 2,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลโครงการก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลโครงการก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลโครงการก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ - โดยชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ตามสมุดพัฒนาการเด็ก - จากการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ครู ผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กมีโภชนาการที่สมวัย
  • เด็กมีสมาธิในการเรียน
  • เด็กขาดเรียนน้อยลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารมีพัฒนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน


>