2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3 - 4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษา และการรักษา การจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ เป้าหมายสำหรับกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว และการเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่ด้วยผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต และมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่่่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรค และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาดเปิดให้บริการคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน พบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่มารับบริการต่อเนื่อง และจากการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงจากปี 2564 พบว่า มีผู้มาคัดกรองจำนวน 1128 ราย และคิดเป็นกลุ่มปกติ 914 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.03 กลุ่มเสี่ยง 202 รายคิดเป็นร้อยละ17.91 และกลุ่มป่วย 12 รายคิดเป็นร้อยละ 1.06 และการคัดกรองเบาหวาน จำนวน 1333 ราย กลุ่มปกติ 1074 ราย คิดเป็นร้ยอละ 78.54 กลุ่มเสี่ยง 253 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.98 กลุ่มป่วย 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.48 ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด จึงจัดทำโครงการเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
2. เพื่อคัดแยกประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสียง และกลุ่มป่วยรายใหม่
3. เพื่อส่งเสริม แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
4. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2022
กำหนดเสร็จ 30/09/2022
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
2.กลุ่มเสี่ยงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทำให้ห่างไกลการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง