กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อปี ๒๕๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค

นางละมัยยูโซะ
นางสาวณธัญหะยีดือราแม
นางสาวนูรีซันแวจิ
นายอิสมะแอมะซง
นางสาวรอกีเย๊าะสาแม

ตำบลนานาคอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อหมายความว่าโรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คนโรคติดต่ออันตรายหมายความว่าโดรติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วโรคติดต่อที่ต้องมีการติดตามตรวจสอบหรือจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องโรคระบาด หมายความว่าโรคติดต่อหรือโรคที่ยีงไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัดซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางหรือมีภาวะของการเกิดโรคมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา
ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัยหาสาธารณสุขที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิดเนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็วสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็วขึ้นเช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (โควิด ๑๙ ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) ซึ่งในช่วงระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมาตำบลนานาคมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ จำนวน ๗ ๑๓ ๓ ๘ ๔ คนตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย ๑๕๐๐๕๒๗๘๖๗ ๖๔๓๑ ๑๗๑๔๙๘๕๗๔ ตามลำดับซึ่งเกินกับค่าอัตราป่วยปกติแล้วต้องไม่เกิน๕๐ ต่อแสนประชากรโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ(มือ เท้า ปาก ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์ มีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัดชัดเจนและมีมาตรฐาน ถึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค
ดังนั้นเพื่อให้สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาคจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อปี ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

ประชานได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อร้อยละ ๕๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๐๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาทเป็นเงิน ๕๐๐๐ บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑๐๐ คนๆละ๕๐ บาท เป็นเงิน  ๕๐๐๐ บาท ค่าจัดซื้อสเปรย์พ่นยุง จำนวน ๑๕๐ กระป๋องๆละ ๘๐ บาทเป็นเงิน ๑๒๐๐๐ บาท ค่าจัดซื้อยากันยุง  จำนวน ๑๕๐ ขวดๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๗๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่มีผู้ป่วยเพิ่มเติม  ในช่วงเฝ้าระวัง  ๒ เท่าของระยะฟักตัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
๒ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
๓สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อต่างๆในพื้นที่


>