กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อช่องปากที่ดีของผู้สูงอายุตำบลนานาค ปี ๒๕๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค

1.นางละมัยยูโซะ
2.นางสาวณธัญหะยีดือราแม
3.นายอิสมะแอมะซง
4.นางสาวนูรีซันแวจิ
5.นางสาวนูรีซันสาเม๊าะ

ตำบลนานาคอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันด้วย มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องมากมาย อาทิการสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ทำให้ต้องเลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่ายซึ่งมีไขมันสูงคอเลสเตอรอลสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยซึ่งร่างกายจำเป็นต้องได้รับ จากการสำรวจภาวะสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุของตำบลนานาค จำนวน 259 คน พบว่าผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ และมีฟันคู่สบฟันหลังที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร 4 คู่ขึ้นไป ร้อยละ 10.81 ซึ่งเห็นได้ว่าในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เป็นกลุ่มที่พบการสูญเสียฟันอย่างชัดเจน อาจกล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การปราศจากฟันทั้งปากซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างชัดเจน สาเหตุเกิดจากผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองยังไม่ถูกวิธี อันจะนำไปสู่การสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพช่องปาก ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ให้ผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสม และยืดอายุการใช้งาน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาคจึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ เพื่อช่องปากที่ดีของผู้สูงอายุตำบลนานาค ปี 2565 เพื่อเป็นการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง และลดการสูญเสียฟัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80
2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันทันตสุขภาพเพื่อลดรอยโรคในช่องปาก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25บาท  เป็นเงิน  5,000.-บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 100 X 250 ซม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท .กิจกรรมย่อย -สาธิตการแปรงฟันที่ถูกต้องให้ผู้สูงอายุปฏิบัติ - ค่าอุปกรณ์แปรงฟัน ( แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เม็ดฟู่แช่ฟันปลอม )  100 ชุด ชุดละ   70 บาท 
เป็นเงิน 7,000.-บาท รวม  12,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากของตัวเองเพื่อรับการรักษาต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยช่องปากดีขึ้น ได้รับการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม
๒. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพมากขึ้น มีการถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในครอบครัว ลูกหลาน และ เพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน
๓. เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ สู่บ้านชุมชนโรงเรียน เป็นต้น


>