กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจเพือสังคมไทยปลอดบุหรี่ ปี ๒๕๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค

1.นางละมัยยูโซะ
2.นางสาวณธัญหะยีดือราแม
3.นายอิสมะแอมะซง
4.นางสาวนูรีซันแวจิ
5.นางสาวนูรีซันสาเม๊าะ

ตำบลนานาคอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและทำอันตรายตอเกือบทุกอวัยวะของร่างกายมีคนไทย๑ ล้านคน ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่และคนไทยเสียชีวิตปีละกว่า ๕๐๐๐๐ คน จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เช่นโรคมะเร็งโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคถุงลมโป่งพองโดยแต่ละคนที่ป่วยจะป่วยจนสูญเสียคุณภาพชีวิตคนล ๒ ปีและอายุสั้นลงโดยเฉลี่ย ๑๒ ปี ในคนไทยทุกคนที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่จะมีคนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจากการสูบบุหรี่อย่างน้อย ๒๐ คน และป่วยหนักโดยเฉลี่ย ๒.๕ ปี ก่อนเสียชีวิต
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รายงานสถานการณ์การสูบบุหรี่ปี ๒๕๕๙ ว่า การสูบบุหรี่ทำให้คนไทยเสียชีวิตปีละ ๕๐๗๑๐ คน หรือเฉลี่ยวันละ ๑๔๒ คน ชั่วโมงละ ๖ คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๑ ใน ๖ ของชายไทย และ ๑ ใน ๓๐ ของหญิงไทยทั้งนี้ยังไม่ได้รวมคนที่เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเหล่านี้เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้สูบบุหรี่ที่ยากจนแม้จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาแต่ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆและการสูญเสียรายได้เพราะเจ็บป่วยทไงานไม่ได้รวมถึงครอบครัวอาจขาดรายได้ เมื่อผู้เสียชีวิตเป็นผู้ที่หาเลี้ยงครอบครัว งานวิจัยทั่วโลกพบว่าบุหรี่ได้คร่าชีวิตคนประมาณ ๖ ล้านคน ทั่วโลกของทุกปีซึ่งในจำนวนดังกล่าว มากกว่า ๖ แสนคนเป็นผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองแยกเป็นเด็ก ๓๑ % และผู้หญิง ๖๔% แสดงให้เห็นว่า ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องทำงานอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาคเล็งเห็นความสำคัญต่อพิษภัยของบุหรี่จึงได้จัดโครงการใส่ใจเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่จึงได้จัดโครงการใส่ใจเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปปลอดภัยจากพิษภัยของบุหรี่ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑ กระตุ้นประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้หันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่
๒ เพิ่มพูนความรู้และทักษะ การเผยแพร่และแนะนำการควบคุมการบริโภคยาสูบและการรณรงค เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ ให้กับประชาชนทั่วไปและสถานที่สาธารณะ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการให้ความรู้ในเรื่องโทษของบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการให้ความรู้ในเรื่องโทษของบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คนๆละ ๒ มื้อๆละ ๒5.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท ๒ ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คนๆละ ๑ มื้อๆละ 50.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท
๓ ป้ายโครงการ จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๗๐๐ บาท ๔ ป้ายไวนิลให้ความรู้ จำนวน ๓ ป้าย ๆละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท รวม ๙,๗๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน
๒ อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวังเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน


>