กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกันในเด็ก 3-12 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระป๋อง

อาซีย๊ะ แวหะยี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระป๋อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการ ติดต่อสื่อสารของผู้คนใน สังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพ และระบบพัฒนาคนยังไม่สามารถปรับตัว รองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้การเกิดโรคฟัน ในทุกกลุ่มวัยเพิ่มขึ้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยผล สำรวจสุขภาพช่องปาก ในปี 2565 พบว่า เด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็นโรคฟันผุสูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ 65 โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในปี 2565กระทรวงสาธารณสุขได้ รายงาน พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนได้ เด็กและผู้สูงอายุ เผชิญปัญหาโรคฟันสูงเป็น อันดับ 1 ของประเทศ จากกการตรวจ สุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-12 ปี (ข้อมูลในโปรแกรม JHCIS ตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค. 64- มี.ค. 65 ) ในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลบ้านกระป๋อง จำนวน 131 คน พบว่า เด็กอายุ 3 -12 ปี มีฟันผุ ร้อยละ 74.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กองทันต สาธารณสุขกำหนด คือมีฟันถาวรไม่เกินร้อยละ 20

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระป๋อง ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรทันต สุขภาพ 1 คน ต้องดูแลประชากรทั้งตำบล จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกันในเด็ก 3 - 12 ปี ใน โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านกระป๋อง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองเพิ่มมากขึ้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระป๋องจึงได้จัดทำ โครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ลดการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 3-12 ปี

 

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กในกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจมนการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 131
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และคณะทำงาน
  รุนที่ 1 จำนวน 65 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 75 บาท              เป็นเงิน   4,875 บาท   รุนที่ 2 จำนวน 66 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 75 บาท              เป็นเงิน   4,950 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และคณะทำงาน   รุนที่ 1 จำนวน 65 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท                    เป็นเงิน   3,250 บาท   รุนที่ 2 จำนวน 66 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท              เป็นเงิน   3,300 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 2 วันๆ ละ 4 ชม.ๆ ละ 300 บาท        เป็นเงิน   2,400 บาท 4.ค่าวัสดุในการอบรม (แปรงสีฟัน) จำนวน 131 ชุดๆ ละ 20 บาท      เป็นเงิน   2,620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21395.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,395.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น
2.ร้อยละ80 กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ร้อยละ50 กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการบริการทันตกรรมในรพ.สต.บ้านกระป๋อง


>