กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านปาแดรู อ.ยะหา ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

ชมรม SRRT รพ.สต.บ้านปาแดรู

1.นายเจะวาดี ดือราฮิง
2.นายมะลาเซ็ง จินตรา
3.นายอับดุลเลาะ ปาแนจะกะ
4.นางฮานีซ๊ะ นิซอ
5.นายมาหะมะ สุหลง

ม.1 ม.3 ม.5 ต.กาตอง อ.ยะหา จ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยพื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม
จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่มอายุ ของ รพ.สต.บ้านปาแดรู พบว่า ปี 2564 (ณ. 30 ธ.ค.64)มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกจำนวน 0 รายแต่โอกาสที่จะเกิดการระบาด ปี 2565 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น รพ.สต.บ้านปาแดรู ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนและด้านอื่นๆ จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชน และในโรงเรียน ตามนโยบาย แนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 /ประชากร 100,000 คน

มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 0

0.00
2 ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วย ได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวัง ร้อยละ 100

มีการพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยครบ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างแกนนำครอบครัว และการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและ ตระหนักถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อนำโดยยุง กิจกรรม
1.  ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ โดยการให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์ หอกระจายเสียง  โรงเรียน ฯลฯ  เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ให้รู้จักการป้องกันตนเอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน 2.  ให้ความรู้แก่อสม.เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบ

กลยุทธ์ที่ 2   การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน และโรงเรียน
กิจกรรม
1.  การกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน และโรงเรียน -    ให้ความรู้แก่ประชาชน และกระตุ้นให้ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทั้งทางกายภาพ   ชีวภาพ ทุกวันศุกร์โดยชุมชน -    จัดสัปดาห์รณรงค์ในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย  โดยให้  อสม.  เดินตามบ้าน พร้อมประชาสัมพันธ์และแจกสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกบ้าน -   ให้สุขศึกษา และประชาสัมพันธ์ รณรงค์ใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายใน โรงเรียน และ ชุมชน ทุกหลังคาเรือน ปีละ 4 ครั้ง ( มี.ค. มิ.ย. ก.ย. ,ธ.ค.)
-   ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนโดยอสม. และสื่อต่างๆ เดือนละ 1 ครั้ง               -   นิเทศ ติดตาม ผลการปฏิบัติงานของ อสม. เดือนละ 1 ครั้ง

กลยุทธ์ที่ 3 ค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ทุกราย     กิจกรรม 1.  พ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวเต็มวัย  ในทุกโรงเรียน 2.  พ่นหมอกควัน  เพื่อทำลายยุงตัวเต็มวัย  ในมัสยิดทุกแห่ง 3.  รับข้อมูลจากเครือข่าย ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคโดยเร็วที่สุด (ภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับรายงาน ไม่มีวันหยุดราชการ) 4.  กำจัด และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ 5.  ยุงลายภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วย รัศมี 50-100 เมตร และมีการดำเนินการทุกสัปดาห์จนครบ 4 ครั้ง โดยจนท. และอสม. 6.  พ่นหมอกควันถูกวิธี (พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์) ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วย และบ้านข้างเคียง รัศมี 50-100 เมตร รณรงค์ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ในพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 4    การควบคุมกำกับ และการประเมินผล            กิจกรรม 1.  ติดตามผลการดำเนินงาน 2.  ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการเพื่อประเมินเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการและหาแนวทางการแก้ไข สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป


>