กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์ รหัส กปท. L1501

อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร “สายด่วนพี่สอนน้อง”
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านโพธิ์
กลุ่มคน
1. นางสาวฐานิดานิรกุล เป็นประธาน
2. นายชนกันต์ซ้มวุ้ง เป็นรองประธาน
3. นางสาวณัฐชาคงเมือง เป็นเหรัญญิก
4. นางสาวกนกอรหนูเหมือน เป็นผู้ช่วยเหรัญญิก
5. นางสาวเกศสุดาหนูจีด เป็นเลขานุการ
3.
หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ประเทศไทย พบว่า อัตราการคลอดของแม่วัยรุ่นในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบเพิ่มเติมว่าวัยรุ่นและเยาวชนอายุระหว่าง 10-25 ปี นั้นจำนวน 1 ใน 3 ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ประมาณครึ่งหนึ่งที่ใช้ถุงยางอนามัย และเพียงร้อยละ 10.7 เท่านั้น ที่ใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวางแผนคุมกำเนิด จะทำให้วัยรุ่นเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำ วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะเกิดผลกระทบที่ตามมาต่อตนเองทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมตามที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อพ่อแม่
สาเหตุของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนั้นมีหลากหลาย ส่วนมากเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและอนามัยการเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การถูกละเมิดทางเพศ การใช้วิธีคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง และปัญหาการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด
จนทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เนื่องจากสังคมไทย คนส่วนมากยังคงมีความเชื่อว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องต้องห้าม สกปรก และ น่าอาย โดยเฉพาะกับวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่พ่อแม่และสังคมคาดหวังให้ทำหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน พ่อแม่จึงไม่คุยกับลูกเรื่องเพศเพราะอายและเชื่อว่าอาจเป็นการชี้โพรงให้กระรอก อีกทั้งโรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นความสำเร็จทางการศึกษามากกว่าทักษะในการใช้ชีวิตด้านต่างๆ
ทำให้เมื่อมีปัญหา หรือข้อข้องใจเกี่ยวกับเพศ วัยรุ่นจึงไม่กล้าปรึกษา ไม่กล้าเล่า กลัวถูกตำหนิ หันไปพึ่งอินเตอร์เน็ตและแลกเปลี่ยนความเห็นกันเองกับเพื่อน มีนักเรียนไทยน้อยกว่า 1 ใน 5 เท่านั้นที่ปรึกษาครูและผู้ปกครอง เช่น การมีแฟนที่ผู้ใหญ่มักจะรู้เป็นคนสุดท้าย ถึงแม้จะมีการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน พฤติกรรมด้านการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยก็ถือว่ารุนแรงและน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กบางส่วนไม่มีความรู้ และบางส่วนไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ ไม่รู้วิธีการปฏิเสธเมื่อไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ ขาดความรู้ด้านสิทธิในร่างกายของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ปลอดภัย ด้วยเหตุนี้จึงเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาแม่ท้องวัยรุ่น แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่น ปัญหาเด็กกำพร้า เป็นต้น การให้การปรึกษาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมนี้เป็นการสำรวจปัญหาและหาหนทางแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคนิคการให้การปรึกษาต่างๆ เพื่อลดความวิตกกังวลกลัวว่าจะตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันให้การสนับสนุนและให้กำลังใจในการเปิดเผยการตั้งครรภ์กับผู้ใกล้ชิด และให้การปรึกษาทางเลือกในการตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์โดยมีข้อมูลที่รอบด้านในการตัดสินใจ เมื่อเลือกตั้งครรภ์ต่อจะต้องสำรวจปัญหาสังคมจิตใจที่อาจตามมาและให้การช่วยเหลือตามสภาพปัญหาและหรือส่งต่อตามความเหมาะสมดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านโพธิ์ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เพื่อจะให้คำปรึกษาแนะนำแก่กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ โดยจะดำเนินกิจกรรม “สายด่วนพี่สอนน้อง” ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือแนะนำวัยรุ่นที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย สามารถลดผลกระทบที่ตามมาทั้งทางด้านร่างกาย สังคมและจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร “สายด่วนพี่สอนน้อง” เพื่อลดปัญหาความรู้สึกกดดันทางจิตใจ เครียด วิตกกังวล เนื่องจากความเสียใจ กลัวพ่อแม่ผิดหวัง กลัวโรงเรียนไล่ออก รู้สึกอายต่อเพื่อนๆ รวมทั้งได้รับการให้การปรึกษาเปิดเผยการตั้งครรภ์กับบุคคลใกล้ชิดที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาทางเลือกเพื่อยุติการตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ต่อ โดยจะได้รับข้อมูลคำแนะนำสำหรับแหล่งสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางสังคมจิตใจกรณีที่ตั้งครรภ์ต่อตามความเหมาะสมของปัญหา

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้ / “สายด่วนพี่สอนน้อง”
    รายละเอียด
    1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ
        600 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ
        21 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 630 บาท
    3. ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการให้การปรึกษาปัญหา
        การตั้งครรภ์ไม่พร้อม (180 หน้ารวมปกพร้อม   เข้าเล่ม) จำนวน 20 ชุดๆ ละ 200 บาท
        เป็นเงิน 4,000 บาท
    4. ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับ “การป้องกันการ   ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จำนวน 1,000 แผ่นๆ ละ
        2 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    5. ค่าวัสดุสำหรับการอบรม จำนวน 20 ชุดๆ ละ
        100 บาท เป็นเงิน  2,000  บาท ประกอบด้วย
          - สมุดบันทึกสันห่วง ขนาด A5 จำนวน
          20 เล่มๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท     - ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน จำนวน 20 ด้ามๆ ละ
            5 บาท เป็นเงิน 100 บาท     - กระเป๋าผ้าใส่เอกสาร ขนาด 31X38 ซ.ม.       จำนวน 20 ใบๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน
            1,400 บาท
    6. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตร
        จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท
    งบประมาณ 10,730.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 10,730.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กและเยาวชนตำบลบ้านโพธิ์มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  2. สามารถลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์ รหัส กปท. L1501

อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์ รหัส กปท. L1501

อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 10,730.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................